นิ่วในไต (Renal calculus/kidney ston)
นิ่วในไต (Renal calculus/kidney ston)
ไตเป็นอวัยวะที่ขับถ่ายของเสียถ้าดูตามรูประบบทางเดินปัสสาวะจะเริ่มจากไต (kidney)ที่มีรูปร่างคล้ายถั่วอยู่สอง
ข้างบริเวณชายโครง ด้านหลัง และมีท่อไต (ureter) ลงมาถึงกระเพาะปัสสาวะ(Bladder) นิ่ว ส่วนใหญ่จะเกิดอยู่ที่ไต
และไหลลงมา อาจติดอยู่ที่ท่อไต หรือถ้าก้อนเล็ก ก็ลงมาเรื่อย ๆจนออกมากับปัสสาวะ นิ่วไต (นิ่วในไต ก็เรียก) เป็น
โรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปีในบ้านเรา
พบมากทางภาคเหนือและภาคอีสานนิ่วอาจมีขนาดต่างๆ กันอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ส่วนมากมักเป็น
ที่ไตเพียงข้างเดียว ที่เป็นทั้งสองข้างอาจพบได้บ้างบางรายอาจเป็นซ้ำๆ หลายครั้งก็ได้
สาเหตุ
ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไตประกอบด้วยหินปูน (แคลเซียม) กับสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต,กรดยูริก เป็นต้น การเกิด
นิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง
การดื่มนมมากๆ หรือมีภาวะผิดปกติอื่นๆ (เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไปซึ่งทำให้แคลเซียมในเลือดสูง)
นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะส่วนกลไกของการเกิด
นิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าคงมีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกาย
สูญเสียเหงื่อง่าย แล้วดื่มน้ำน้อยทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียม,การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ,ความผิด
ปกติทางโครงสร้างของไต เป็นต้น
คนที่ชอบกินอาหารที่มีสารซาเลตสูง หรือกินวิตามินซีขนาดสูงๆ (ซึ่งจะกลายเป็นสารออกซาเลตสูง) ก็มีโอกาสเป็น
นิ่วมากกว่าคนปกติ
อาการ
รูปแสดงบริเวณที่ปวดจากนิ่ว ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเอวปวดหลังข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะปวดแบบเสียดๆ หรือ
ปวดบิดเป็นพักๆ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะอาจมีลักษณะขุ่นแดง หรือมีเม็ดทรายถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็กอาจ
ตกลงมาที่ท่อไต ทำให้เกิดอาการปวดบิดในท้องรุนแรงบางรายอาจไม่มีอาการแสดงเลยก็ได้
อาการแทรกซ้อน
อาจทำให้เกิดการติดเชื้อกลายเป็นกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยไว้นานๆ มีการติดเชื้อบ่อยๆ ก็ทำให้เนื้อไตเสีย
กลายเป็นไตวายเรื้อรังได้
การรักษา
หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลมักจะวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ (พบมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก) ตรวจเลือด
เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี (intravenous pyelogram หรือ IVP) และอาจตรวจพิเศษอื่นๆ
ถ้าจำเป็นถ้านิ่วก้อนเล็กอาจหลุดออกมาได้เอง แต้ถ้าก้อนใหญ่อาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว
(extracorporeal shock wave lithotripsy/ESWL) สลายนิ่วโดยการใช้เสียงความถี่สูงทำให้นิ่วระเบิดเป็นผง โดยไม่
ต้องผ่าตัดถ้ามีอาการปวดให้ยาแก้ไข้ หรือแอนติสปาสโมดิกถ้ามีอาการติดเชื้อให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน,
โคไตรม็อกซาโซล หรือนอร์ฟล็อกซาซิน เช่นเดียวกับการรักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลันในรายที่มีสาเหตุชัดเจน
ควรให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น ให้ยารักษาโรคเกาต์ในรายที่เป็นโรคเกาต์ เป็นต้น
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้แม้ไม่มีอาการแสดง ก็ควรจะรักษาอย่างจริงรัง ถ้าจำเป็นอาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องมือสลายนิ่ว
หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดแทรกซ้อนเป็นอันตรายได้
2. ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ และลดอาหารที่มีกรดยูริกแคลเซียมและสารออกซาเลตสูงถ้าเป็นนิ่วก้อนใหญ่ควรรักษาด้วย
การใช้เครื่องสลายนิ่วหรือการผ่าตัด
นิ่วในไตรักษาด้วยการสลายนิ่ว (ESWL)
การรักษาด้วยการสลายนิ่ว(ESWL)นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะนิ่วสามารถพบได้ทุกส่วนของระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุที่พบมีได้มากมาย ได้แก่
1. พันธุกรรม เช่น โรคไต บางชนิด (RENAL TUBULAR ACIDOSIS)
2. ขาดสารยับยั้งนิ่วในผู้ป่วย (CITRATE PYROPHOSPHATE)
3. อายุ พบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะมากในเด็ก และผู้สูงอายุ นิ่วในไตและท่อไตมักพบในผู้ใหญ่
4. สภาพแวดล้อม และภูมิอากาศ มักพบนิ่วในหน้าร้อน และภูมิอากาศแห้งแล้งมากกว่า
5. การดื่มน้ำและปริมาณปัสสาวะ ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย จำนวนปัสสาวะน้อยมีโอกาสพบนิ่วมากกว่า
6. อาหาร บางชนิดมีส่วนสำคัญในการเกิดนิ่ว เช่น นิ่วยูริค จะพบมากขึ้นในผู้ที่ทานโปรตีนมาก เป็นต้น การักษา
นิ่วขึ้นอยู่กับขนาด ตำแหน่ง การอุดตันทางเดินปัสสาวะ รักษาการติดเชื้อ
การรักษานิ่วทั่วไป คือ
การรักษาทางยา
การดื่มน้ำมาก ๆ
การออกกำลังกาย (ชนิดที่มีการเคลื่อนไหว)
การรักษาด้วยการสลายนิ่ว (E.S.W.L) โดยใช้คลื่น SHOCK WAVE เป็นคลื่นกระแทกจากเครื่องซึ่งอยู่นอกร่างกาย
ไม่มีบาดแผล ไม่ต้องเสี่ยงต่อการดมยา การรักษาด้วยการส่องกล้อง ผ่านไต ผ่านท่อไต เพื่อสลายนิ่ว คล้องนิ่วออก
การผ่าตัดแบบมีบาดแผลเพื่อนำนิ่วออก ยังมีความจำเป็นในบางราย ที่มีนิ่วขนาดใหญ่ การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับ
ตำแหน่งนิ่ว ขนาดนิ่ว การทำงานของไต สภาพของผู้ป่วย ทุกวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันจึงใช้การพิจารณา
ผู้ป่วยเป็นราย ๆ เป็นหลัก การทำ ESWL เป็นวิธีการซึ่งไม่ invasive และส่วนใหญ่ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลศัลยแพทย์
ที่ทำการสลายนิ่วจะต้องฝึกฝนและคุ้นเคยกับการใช้ ultrasound หรือเอกซเรย์ในการหานิ่ว นอกจากนั้นจะต้องตระหนัก
และรู้จักรักษาภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ในขณะที่ทำการสลายนิ่ว หรือภายหลังการสลายนิ่วได้ ระยะเวลากว่าเศษ
นิ่วจะหลุดออกมาหมดไม่แน่นอน บางรายต้องสลายนิ่วซ้ำอีกหนึ่งหรือหลายครั้งไม่สามารถจะรับรองผลการรักษาได้ทุก
ราย โดยที่มีอัตรา stone free rate ที่ 3 เดือนประมาณ 75%
การที่เศษนิ่วไม่หลุดออกมาในเวลารวดเร็วทำให้ผู้ป่วยบางคนต้องเดินทางมารับการตรวจติดตามผลหลายครั้งซึ่ง
เป็นการเสียเวลาของผู้ให้การรักษาและเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่ผู้ป่วย การรักษาจึงต้องคำนึงถึง
ข้อนี้ด้วย แพทย์ควรอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าจะคาดหวังอะไรได้จากการสลายนิ่ว ค่าใช้จ่ายอัตราสำเร็จและความ
จำเป็นในการติดตามผล นิ่วที่เหมาะสำหรับ ESWL ได้แก่นิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 2 ซม. และมี stone burden ไม่มาก
ส่วนนิ่วที่ใหญ่กว่านี้จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วยเช่นการผ่าตัดเปิดหรือทำ PCNL
ข้อห้ามในการทำ ESWL คือ
• มีการอุดกั้นของท่อไตต่ำกว่าจุดที่นิ่วอยู่ อันจะทำให้นิ่วที่แตกแล้วไม่สามารถหลุดลงมาได้
• ไตด้านนั้นไม่ทำงานแล้ว
• มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด หรือได้รับยาผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสำหรับการรักษาด้วย ESWL คือผู้ป่วยที่มี
ความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยที่รับยาต้านเกร็ดเลือด เช่น ASA
• ผู้ป่วยที่มีการอักเสบติดเชื้อและยังไม่ได้รับการรักษา ไตที่ไม่ทำงาน และมีการอุดกั้นเลยก้อนนิ่วลงไปซึ่งยังไม่ได้
รับการแก้ไข
• ความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้
• ผู้ป่วยที่กำลังมีครรภ์เพราะจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้
• มี calcified renal artery หรือ aortic aneurysm ภาวะแทรกซ้อนของ ESWL ได้แก่
• ปัสสาวะเป็นเลือด
• perirenal hematoma (เกิดได้ราวน้อยกว่า 1 %)
• เกิดการอักเสบติดเชื้อ
• เศษนิ่วลงมาอุดท่อไต (steinstrasse) ซึ่งเกิดได้ในราว 5% รักษาได้โดย hydration ร่วมกับยาปฏิชีวนะ แต่ถ้ามี
เศษนิ่วก้อนโตขวางอยู่จะต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วยได้แก่ percutaneous nephrostomy เพื่อระบายปัสสาวะ และใช้
ureteroscope เข้าไปทำลายเศษนิ่วก้อนที่ขวางอยู่นั้น หรือทำ ESWL ที่ steinstrasse
• Pancreatitis
• ส่วนผลระยะยาวเช่นการเกิดความดันโลหิตสูง ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ
การให้คำแนะนำผู้ป่วยให้ไปปฏิบัติที่บ้าน
ให้เน้นในเรื่องของการปฎิบัติตัวเพื่อให้หาย และไม่เกิดเป็นซ้ำดังนี้
• ให้ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว
• การดื่มน้ำมะนาววันละแก้วจะเพิ่มระดับ citrate ซึ่งป้องกันนิ่วที่เกิดจากเกลือแคลเซียม
• ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม Cola เนื่องจากไปลด citrate
• ผู้ป่วยที่มีนิ่วเป็นชนิดอาหารเค็มที่มีเกลือแคลเซียมควรลดเกลือโซเดียมเนื่องจากโซเดียมไปเพิ่มการขับ
แคลเซียม
• ผู้ป่วยที่มีนิ่วเป็นเกลือแคลเซียมควรจะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างพอเพียงเนื่องจากแคลเซียมในอาหาร
จะไปจับกับ oxalate ในอาหาร
• ผู้ที่มีนิ่วควรรับประทานอาหารที่มีใยมาก
• ให้ลดอาหารโปรตีนเนื่องจากอาหารโปรตีนจะเพิ่มการขับเกลือแคลเซียม ยูริก และoxalate ในปัสสาวะทำให้เกิด
นิ่วได้ง่าย
• ลดอาหารที่ให้สาร purine สูงเช่นเครื่องใน สัตว์ปีก เบียร์ ถั่ว
• สังเกตน้ำปัสสาวะหากมีลิ่มเลือด หรือ แดงจากเกินกว่า 1 สัปดาห์ หรือ ปัสสาวะไม่ออกให้กลับมาพบแพทย์ก่อน
กำหนดได้
• รับประทานยาให้ครบตามแผนการรักษาของแพทย์
• ควรออกกำลังกายทุกวัน วันละประมาณ 30 นาทีอย่างต่อเนื่อง
สรุป
การรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ด้วยวิธีการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทกจาก ภายนอก
(Extracorporeal Shock Wave Lithotripter - ESWL) เป็นวิธีการรักษานิ่วที่ทำกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยใช้
คลื่น SHOCK WAVE แทนการผ่าตัดในการสลายนิ่วเอาก้อนนิ่วออกจากไตระบบทางเดินปัสสาวะ โดย
1) ไม่ต้องผ่าตัด
2) หายเร็ว
3) นอนพักในโรงพยาบาลเพียง 1 วัน
4) เป็นการรักษาแต่ภายนอก
5) เจ็บเล็กน้อย
6) ราคาประหยัด ทั้งนี้ คลื่น SHOCK WAVE ผ่านเนื้อเยื่อของร่างกายโดยไม่ทำอันตราย เมื่อคลื่นถูกก้อนนิ่วจะเกิด
รอยร้าวหรือแตกบนก้อนนิ่ว ก้อนนิ่วจะสลายตัว หลังจากใช้เครื่องสลายนิ่ว ราวๆ 1 ชั่วโมงหลังจากใช้เครื่องสลายนิ่ว
ก้อนนิ่วจะสลายตัวและขับออกมาตามธรรมชาติ
การพยาบาลผู้ป่วยต้องวางแผนไว้ 4 ระยะ คือ
1) การพยาบาลผู้ป่วยก่อนทำการรักษา
2) การพยาบาลผู้ป่วยขณะทำการรักษา
3) การพยาบาลผู้ป่วยหลังทำการรักษา
4) การให้คำแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ และเกิดเป็น
นิ่วซ้ำ โดยที่หัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วยคือประเด็นในเรื่อง ความเจ็บปวด การติดเชื้อ การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
และการมีปัสสาวะออกเป็นเลือด ทั้งนี้ การดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 2-3 ลิตร หรือมากกว่าเป็นวิธีการป้องกันการเกิดนิ่ว
ที่ดีที่ง่ายที่สุด ประหยัดที่สุดและอาจกล่าวได้ว่าดีที่สุดในปัจจุบันหากทำร่วมกับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง