Mammo

ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

ความเสี่ยงในการให้บริการและการแพ้สารทึบแสง

ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกท่านโปรดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดซึ่งจะมีผลต่อชีวิตทรัพย์สินและความรับผิดตามข้อกฏหมายในกรณีที่ปรัมาทและเลินเล่อ

                 การให้บริการ                    


    กรณีทั่วๆไป                                   


  1. การให้ฟิล์มหรือผลการตรวจขาดไป ให้ฟิล์มหรือผลการตรวจผิดคน ต้องเช็คชื่อและนามสกุลในซองฟิล์ม บนฟิล์ม และบนใบผลการตรวจให้ตรงกันก่อนใส่ในซอง
  2. ฟิล์มและผลกาสรตรวจหายเมื่อผู้ป่วยรับซองฟิล์ม หรือไปส่งฟิล์มที่วอร์ด ต้องให้ผู้ป่วยหรือญาติหรือเจ้าหน้าวอร์ด เซ็นต์รับซองฟิล์มทุกครั้ง
  3. การเรียกชื่อผู้ป่วยผิดเข้าห้องตรวจต้องเรียกชื่อและนามสกุลทุกครั้งก่อนเข้าห้องตรวจ(อย่าใช้วิธีจำ) ถ้าตรวจและฉีดสารทึบแสงผิดคน ผู้ป่วยอาจฟ้องอาญาและเรียกค่าเสียหายได้
  4. เรื่องผู้ป่วยแพ้สารทึบแสงและยานอนหลับก่อนฉีดทุกครั้งต้องสัมภาษประวัติการแพ้และโรคประจำตัว ให้ผู้ปวยหรือญาติเซ็นต์ยินยอมให้ฉีดสารทึบแสงหรือยานอนหลับ
  5. เรื่องผู้ป่วยตกเตียงให้ดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาโดยเฉพาะผู้ป่วยนั่งรถเข็นหรือรถนอน เพื่อป้องกันผู้ป่วยลุกขึ้นและตกเตียงได้
  6. ผู้ป่วยลุกออกจากเครื่องตรวจให้อธิบายวิธีการและขั้นตอนการตรวจทุกครั้งก่อนตรวจ และดูแลผู้ป่วยอย่าให้คาดสายตา
  7. ผู้ป่วยหงุดหงิดรอนาน
  8. อ๊อกซิเจนหมด เครื่องดูดเสมหะเสียหรือไม่มีสายดูดให้ตรวจตราดูแลเช็คสต๊อก ทำสำรองเพิ่มอีก1ชุด(ออกซิเจ่น) เครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์ และยาให้ครบพร้อมในการใช้งานตลอดเวลา
  9. ผู้ป่วยเสียชีวิตในขณะตรวจให้ดูแลผู้ป่วยทุกคนในขณะตรวจ อย่าประมาทโดยเด็ดขาด แม้จะเป็นผู้ป่วยปกติดีก็ตาม ให้สังเกตุและตรวจวัดชีพจรโดยเฉพาะผุ้ป่วยอาการหนัก ถ้าผู้ป่วยอาการทรุดให้ยุติการตรวจล้วรีบรายงานแพทย์และรีบส่งแผนกERให้เร็วที่สุดเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยก่อน แต่ถ้าจะต้องใส่Tubeหรือเครื่องหายใจในห้องตรวจให้เตรียมเครื่องมือและยา พร้อมเจ้าหน้าที่ทำCPRให้พร้อม
  10. ผู้ป่วยอาการแย่กรณีตรวจเสร็จแล้วหรือขณะรอฟิล์มและผลการตรวจให้ดูแลผู้ป่วยก่อน ในขณะตรวจ และช่วงรอฟิล์มหรือผลการตรวจ ถ้าเป็นไปให้ผู้ป่วยกลับไปวอร์ดก่อนแล้วตามเอาฟิล์มและผลการตรวจไปส่งตามหลัง อย่าให้ผุ้ป่วยรอที่ศูนย์นาน
  11. ผู้ป่วยอารมณ์เสียเนื่องจากรอผลการตรวจนานให้พนักงานเข้าไปรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ หรือให้ผู้ป่วยหรือญาติไปทานอาหารหรือทำธุระก่อน และบอกเวลาเสร็จโดยประมาทถ้าเป็นเจ้าหน้าที่พยาบาลคนขับรถที่มาส่งผู้ป่วยอาจให้กลับได้เลยพร้อม
  12. ผู้ป่วยสำลักต้องให้พยาบาลทำการดูดเสมหะก่อนหรือในขณะตรวจ
  13. ลืมแค๊มปสายปัสสาวะ กรณีผู้ป่วยตรวจLower abdomen ทำให้การตรวจล้มเลวหรือไม่ชัดเจนผู้ป่วยที่ตรวจLower abdomenและใส่สายที่ท่อปัสสาวะ ต้องทำการแค๊มป์เพื่อให้Full bladder
  14. ผู้ป่วยไตมีปัญหาจากการฉีดสารทึบแสงก่อนฉีดสารทึบแสงให้สัมภาษประวัติและโรคประจำผู้ป่วยให้ดี และต้องตรวจเช็คค่าผลเลือดทางไตเช่น ค่าเคทินีน แล้วรายงานรังสีแพทย์เพื่อพิจารณาฉีดหรือไม่ฉีดสารทึบแสง

   เรื่องการดูแลผู้ป่วยและอุปกรณ์         


โปรดระมัดระวังอย่างสูงเพราะเกี่ยวข้องกับชีวิต ทรัพย์สินและความรับผิดทางกฏหมาย

  1. การดูแลผู้ป่วยก่อน ขณะตรวจและหลังการตรวจ
  2. อุปกรณ์ที่ต้องใช้งานร่วมกับเครื่องหรือผู้ป่วย ให้ระมัดระวังในการหยิบจับ ถือ การนำมาเชื่อมต่ออุปกรณ์ และการบำรุงรักษา เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้มีราคาแพงมาก

       เอกซเรย์คอมพิวเตอร์                   


  • Headที่วางศรีษะหรือเท้า เสียหายจากการวางกระแทกหรือตกหล่นอุปกรณ์พวกนี้ราคาแพงชิ้นหนึงตกประมาณ 1-2แสนบาท ถ้าเสียหายไม่มีประกัน บริษัทผู้ขายเครื่องไม่รับประกัน 
  • เรื่องน้ำปัสสาวะไหลโดนเครื่อง อาจทำให้เครื่องพังและไฟฟ้าช๊อตได้ให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนเข้าห้องตรวจ รองก้นผู้ป่วยด้วยผ้าซับและผ้ายางทำเป็นรูปกระบะยกขอบสูงกว่าพื้นเล็กน้อย
  • เรื่องน้ำเกลือไหลโดนเครื่อง อาจทำให้เครื่องพังและไฟฟ้าช๊อตได้ก่อนแสกนให้ตรวจน้ำเกลือผู้ป่วยว่าหลุดหรือไม่ ควรรัดแขนผู้ป่วยวางบนกระบะผ้าซับและผ้ายาง
  • เครื่องฉีดสารทึบแสง Injectorให้ทำความสะอาด(ด้วยนำ้อุ่น)ทันทีที่สารทึบแสงหกหรือหยดลงเครื่องหรือพื้น (ถ้าไม่ทำความสะอาดทันทีมันจะแข็งเช้ดออกยาก และเป็นคราบ)
  • ก่อนนำผู้ป่วยเข้าห้องตรวจต้องซักประวัติการแพ้ยาหรืออาหารทะเลหรือไม่(เพราะสารทึบแสงนี้มีส่วนประกอบของไอโอดีน) ถ้าผุ้ป่วยมีประวัติแพ้สารทึบแสงหรืออาหารทะเล ให้รายงานแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไข(เช่น ฉีดยาแก้แพ้ เปลี่ยนตัวยาใหม่ หรืองดการฉีดสารทึบแสง หรือการตรวจ)
  • ก่อนเข้าห้องตรวจต้องให้ผู้ป่วยเซ็นตใบยินยอมฉีดสารทึบแสงก่อนทุกราย
  • ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจต้องระมัดระวังดูแลผู้ป่วยในขณะตรวจและหลังการตรวจด้วยความระมัดระวัง และให้เตรียมเครื่องให้พร้อมทันทีที่ผุ้ป่วยมาถึง
  • ผู้ป่วยแพ้สารทึบแสงในขณะฉีดให้หยุดทันทีและแจ้งทีมช่วยชีวิตโดยเร็ว

     เอ็มอาร์ไอ                                      


ให้ระมัดระวังเป็นอย่างมากเนื่องจากตัวเครื่องมีข้อจำกัดและอุปกรณ์มีราคาาแพงมาก

เครื่องเอ็มอาร์ไอจะเป็นสนามแม่เหล็กจะมีคุณสมบัติ

  • มีแรงดึงดูดและแรงผลักกับโลหะโดยเฉพาะเหล็ก(ไทเทเนียม/ทองแดง/แสตนเลสไม่ป็นไรเข้าห้องตรวจได้) 
  • เนื่องจากอุปกรณ์จะเป็นอิเลคโทนิคและขดลวดทองแดงมากมายฉะนั้นจะต้องระวังเรื่องน้ำให้ดี(น้าที่มาจากตัวผู้ป่วยเช่น น้ำปัสสาวะ สายนำ้เกลือหลุด อาเจียร ขวดเดนต่างๆ)

ข้อควรระวัง

  1. อุปกรณ์รับสัญญาณ(Coil) เสียหายจากการวางกระแทกหรือตกหล่น -อุปกรณ์พวกนี้ราคาแพงมากมาก ชิ้นหนึงตกประมาณ 1-5 ล้านบาท ถ้าเสียหายไม่มีประกัน บริษัทผู้ขายเครื่องไม่รับประกัน พนักงานที่ทำเสียหายต้องขายบ้านขายรถขายที่นามาชดใช้บริษัท(มีผู้ที่ทำตกมาแล้ว)
  2. เรื่องน้ำปัสสาวะไหลโดนเครื่อง อาจทำให้เครื่องพังและไฟฟ้าช๊อตได้-ให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนเข้าห้องตรวจ ผู้ป่วยทุกราย(ไม่ว่าจะเดินได้ รู้เรื่องดี นั่งรถนั่งหรือนอน) ให้รองก้นผู้ป่วยด้วยผ้าอ้อมซับและปูผ้ายางทำเป็นรูปกระบะยกขอบสูงกว่าพื้นเล็กน้อย เพื่อป้องกันและรองรับน้ำ(กรณีเร่งด่วน) ขอยำ้ให้ทำทุกราย
  3. เรื่องน้ำเกลือไหลโดนเครื่อง อาจทำให้เครื่องพังและไฟฟ้าช๊อตได้-ก่อนแสกนให้ตรวจน้ำเกลือผู้ป่วยว่าหลุดหรือไม่ ควรรัดแขนผู้ป่วยวางบนกระบะผ้าซับและผ้ายางเพื่อให้น้ำไหลบนกระบะผ้าซับและผ้ายาง
  4. ปากกา ไขขวง เศษโลหะ ปลิวโดนผู้ป่วยและเครื่องเสียหาย-ให้นำอุปกรณ์ของใช้เครื่องไม้เครื่องมือออกจากตัวผู้ป่วยในขณะเข้าห้องตรวจเอ็ฒอาร์ไอ
  5. รถเข็นนั่งหรือนอน ถังออกซิเจนโดนดูดทำให้ผู้ป่วยหรือเครื่องเสียหาย-ต้องเช็ครถเข็นต่างๆว่าเป็นเหล็กหรือ ถ้าเป็นเหล็กห้ามนำเข้าห้องตรวจโดยเด็ดขาด แต่ถ้าสภาพกึ่งเหล็กกึ่งแสตนเลสหรือมีสภาพเป็นเหล็กน้อย ต้องมีเจ้าหน้าที่เข็นหัวท้ายเข้าไปแต่ทางที่ดีรถเข็นควรทำด้วยโลหะแสตนเลส
  6. Tubeที่ใส่หลุดกรณี ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ-ต้องระวังในขณะเข็นรถนอนให้พร้อมเพียงกับผู้ที่บีบแอมบูแบล๊ก ป้องกันTubeหลุดผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
  7. บัตรเครดิต เอทีเอ็มของผู้ป่วยเสียหาย-เนื่องจากในห้องตรวจเป็นแม่เหล็ก อุปกรณ์ที่เป็นโลหะที่มีส่วยผสมของเหล็กและแถบแม่เหล็กจะถูกดึงดูดเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย/เครื่อง/บัตรแถบแม่เหล็กได้ ต้องบอกผู้ป่วยหรือญาติให้เอาออกก่อนเข้าห้องตรวจทุกครั้ง
  8. ผู้ป่วยได้รับอันตรายกรณีในตัวผู้ป่วยมีโลหะ เช่น ผู้ป่วยใส่อวัยวะเทียม ใส่เหล็ก ลูกปืนฝังใน-ต้องสอบถามประวัติผู้ป่วยก่อนเข้าตรวจ ถ้ามีโลหะในร่างกายให้สอบถามว่าเป็นโลหะประเภทใดและรายงานรังแพทย์ก่อนนำเข้าห้องตรวจ
  9. ระบบไฟฟ้า กรณีไฟฟ้าตกให้รายงานบริษัทฯที่บริการบำรุงรักษาเครื่องเพื่อเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะระบบ ชิลเลอร์ปั้ม(อยู่ในห้องเครื่อง)ให้ฟังเสียงทุกครั้งว่ายังมีเสียงหรือไม่ถ้าไม่มีให้รายงานช่างหรือทำการเปิดเครื่อง
  10. ระบบหล่อเย็น(ชิลเลอร์)ให้สำรวจทุกเช้าและเย็นว่ายังทำงาน อุณหภูมิปกติไหม นำ้ในถังลดลงหรือไม่หรือมีคราบสนิมหรือไม่ถ้ามีให้รายงานโดยด่วยและทำการซ่ิมแซม ล้างถังหรือเปลี่ยนนำ้
  11. ก่อนนำผุ้ป่วยเข้าห้องตรวจต้องซักประวัติ มีประวัติแพ้ยา โรคไต โรคหัวใจ กลัวที่แคบหรือไม่ 
  12. ก่อนเข้าห้องตรวจสำรวจว่าผู้ป่วยมีโลหะในและนอกร่างกายหรือไม่ ถ้ามีให้เอาออก(กรณีนอกร่างกาย) ถ้ามีในร่างกาย(เศษโลหะฝังในร่างกาย ติดอุปกรณ์ช่วยกระตุ้นหัวใจ ผ่าตัดใส่เหล็กดามในร่างกาย)ให้รายงานเทคนิเชี่ยนหรือแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไป

     เรื่องระบบทางบัญชี                     


ให้เก็บเอกสารไว้ให้ครบถ้วนและถูกต้องเพราะเอกสารเหล่าจะถูกนำมาใช้ในการวางบิลกับผู้ป่วยรือโรงพยาบาลที่ส่งตรวจความเสี่ยงก็คือ

  • ไม่สามารถวางบิลตั้งเบิกกับโรงพยาบาลได้ เนื่องจากเอกสารไม่ครบพนักงานเค๊านเตอร์หรือพนักงานที่อยู่เวร ต้องเก็บเอกสารผู้ป่วยให้ครบถ้วนเช่น ใบrequest ใบแสดงสิทธืผู้ป่วย ใบสั่งยา ใบRefer ตามที่โรงพยาบาลต้องให้ครบ เพื่อประกอบการวางบิล ถ้าไม่ครบให้ติดตามทันทีภายในวันนั้น
  • เรื่องการคำนวณค่าโฆษณาและค่าอ่านผิดคน หรือจ่ายขาดจ่ายเกินพนักงานทุกคนต้องลงทะเบียนให้ถูกชื่อ นามสกุล โรงพยาบาล ส่วนตรวจ ค่าตรวจ เป็นต้น

  ความเสี่ยงในการฉีดสารทึบแสง      

สารทึบแสง Contrast media


หมายถึงสารที่ใช้ในการตรวจทางรังสีวิทยา ทำการฉีดเพื่อให้เกิดความแตกต่างในการดูดกลืนรังสีระหว่างอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เห็นอวัยวะที่ต้องการตรวจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยนำเข้าสู่ร่างกาย เช่น การรับประทาน   การสวนเข้าทางทวารหนัก และฉีดเข้าหลอดเลือด หรือเข้าช่องโพรงของร่างกาย

สารทึบรังสีชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด เป็นสารที่มีความจำเป็นในการตรวจ เพื่อแยกความแตกต่างของอวัยวะที่ต้องการตรวจกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อช่วยให้ได้ภาพจากการตรวจทางรังสีมีความชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นสารทึบรังสีจึงเข้ามามีบทบาทในการตรวจทางรังสีหลายชนิด ได้แก่

  1. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT )
  2. การตรวจดูการทำงานของไต (Intravenous pyelography ),
  3. การถ่ายภาพรังสีหลอดเลือด ( Angiography / Venography )
  4. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )                                                                                                                                                     

แต่เนื่องจากสารทึบรังสีอาจทำให้เกิดการแพ้หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกายจนถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งนับว่าเป็นการตรวจที่มีความเสี่ยงสูง สำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากการใช้สารทึบรังสีนั้นสามารถทำได้ทุกระยะ คือ ตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลังการฉีดสารทึบรังสี หากพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารทึบรังสีเป็นอย่างดีแล้วผู้ป่วยก็จะได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย 


ภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้สารทึบรังสี


แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

  1. ระดับเล็กน้อย  จะมีอาการเล็กน้อย เป็นอยู่ไม่นานและอาจไม่ต้องการการรักษาอะไร นอกจากคำแนะนำเช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน  ไอ  จาม หรือ มีผื่นขึ้น
  2. ระดับปานกลาง เป็นอาการที่เป็นมากขึ้น และต้องให้การรักษา ได้แก่ ผื่นลมพิษ  คลื่นไส้ อาเจียนมาก  ตาบวม  หน้าบวม หรือมีอาการหลายอย่างร่วมกัน
  3. ระดับรุนแรง จะมีอาการที่เป็นรุนแรงมาก จนอาจถึงแก่ชีวิต จำเป็นต้องให้การรักษาโดยรีบด่วนที่สุด เช่น หายใจขัด  เสียงแหบ  หายใจมีเสียงวี๊ด เหนื่อยหอบ ชักหรือรุนแรงจนหมดสติ

ภาวะรั่วซึมออกนอกหลอดเลือด


ความเสี่ยงในการฉีดสารทึบแสงโดยใช้เครื่องฉีดแบบอัตโนมัติ(Injector)

ทำให้เกิดมีภาวะการรั่งซึมของสารทึบแสง คนไข้จะมีอาการ บวมแดง ตึง ส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี่้ยง ทำให้เป็นแผลเปื่อย อาจทำให้เนื่อเยื่อตาย วึ่งนับว่ารุนแรงมาก ดังนั้นก่อนฉีดสารทึบแสงด้วยเครื่องฉีดอัตโนมัติ ต้องให้ความระมัดระวัง โดยต้องทำการ

  1. ประเมินก่อนการฉีดทุกครั้ง
  2. ทดสอบ ตรวจสอบว่าเส้นเลือด ฉีดสารทึบแสงแล้วเส้นเลือดไม่แตก
  3. กรณีเส้นเลือดแตก ควรงดการฉีดสารทึบแสงด้วยเครื่องอัตโนมัติ และให้เปลี่ยนมาทำการฉีดสารทึบด้วยมือแทน โดยขณะฉีดให้ระมัดระวัง ถ้าเส้นเลือดแตกให้งดการฉีดสารทึบแสงทันที 


   หนูทำลายเครื่องมือแพทย์           


การที่มีหนูให้ห้องตรวจ ห้องควบคุม ห้องนั่งรอตรวจ จะทำให้หนูเข้าไปกัดสายไฟฟ้า สายเคเบิลใยแก้ว พวกบอร์ดวงจรต่างๆ ทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งการปล่อยให้หนูเข้าไปกระทำดังกล่าว บริษัทถือว่าเป็นความบกพร่องอย่างร้ายแรง พนักงานจะต้องร่วมรับผิดชอบในค่าซ่อม ซึ่งบริษัทที่รับประกันบำรุงรักษาจะปฏิเสธความรับผิดชอบทันที ซึ่งทำให้บริษัทต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อม ซึ่งปัญหานี้แก้ง่ายนิดเดียวคือ ช่วยกันอย่าให้หนูเข้ามาทำลายอุปกรณ์ดังกล่าว โดยขอให้ทำดังนี้

"  ห้ามกิน-ห้ามทิ้ง-ห้ามเปิด-ห้ามมีรู "

ขอให้เจ้าหน้าที่ทุกท่านปฏิบัติงานควรห้ามปฏิบัติ และควรปฏิบัติดังนี้

  1. ห้ามนำอาหารมาทานในห้องเครื่องมือแพทย์ทั้งในห้องตรวจ ห้องควบคุมการตรวจ ห้องเครื่อง เพราะจะเป็นสิ่งยั่วยวนให้หนูเข้ามาอาศัยหรือหาอาหาร
  2. ห้ามทิ้งเศษอาหารไว้ในบริเวณห้องตรวจ ห้องนั่งรอ ห้องควบคุม และห้องเครื่อง อย่างเด็ดขาด
  3. ห้ามเปิดประตูห้องไว้ ไม่ว่าจะเป็นห้องนั่งรอ ห้องตรวจ ห้องควบคุมการตรวจ ห้องเครื่อง เพราะจะทำให้หนูสามารถเข้ามาในห้องดังกล่าวได้
  4. ห้ามมีรู ช่อง หรือ โพรง ตามผนังหรือเพดานหรือพื้นในห้องตรวจ ห้องนั่งรอ ห้องควบคุม และห้องเครื่องอย่างเด็ดขาด ถ้ามีช่วยกันอุดรอยรั่ว โพรงต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้หนูเข้ามาในห้องได้
  5. ให้วางกับดักหนูไว้เป็นจุดจุด เพื่อทำลายก่อนที่หนูจะเข้ามาทำความเสียหายได้


 

 

ชื่อเอกสาร / แบบฟอร์ม
MRI MA daily check list Form
ความเเสี่ยงในการฉีดสารทึบแสงผิดสายIV
แนวทางการดุแลผู้ป่วยแพ้สารทึบแสง
แนวทางการดุแลผู้ป่วยแพ้สารทึบแสง2
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารทึบแสงเข้าหลอดเลือด
ความเสี่ยงมีหนูทำลายเครื่องมือแพทย์