Mammo

ระบบจัดเก็บและกระจายภาพ

ระบบPACS

ความหมายของระบบPACS: PACS ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือ ระบบที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพ ทางการแพทย์( Medical Images) และรับ-ส่งข้อมูลภาพ ในรูปแบบ Digital PACS ใช้การจัดการรับส่งข้อมูล ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตราฐาน DICOM


เราใช้ระบบPACS เพื่ออะไร

ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ระบบ PACS ก็เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ที่พัฒนามาเพื่อใช้กับแผนกรังสีโดยตรง เนื่องจากภาพถ่ายทางรังสีมีความจำเป็นในการช่วยวิเคราะห์โรค และรักษาผู้ป่วย ระบบ PACS จะช่วยให้แพทย์ ได้รับภาพถ่ายทางรังสี และผลวิเคราะห์จากรังสีแพทย์อย่างรวดเร็ว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรค และให้การรักษา ผู้ป่วยได้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก นอกจากนี้ ปัญหาการจัดเก็บ และค้นหาฟิล็มเอ็กซเรย์ ก็ทำให้เกิดความล้าช้า ของการรายงานผลเอ็กซเรย์ได้ บางครั้งเราอาจจะพบว่ามีการสูญหายของฟิล็มเอ็กซเรย์ ซึ่งมีความจำเป็น ในการใช้เปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงของโรค และการให้การรักษาต่อเนื่อง ระบบ PACS มีการจัดเก็บข้อมูล ไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งมีระบบเก็บข้อมูลสำรอง จึงช่วยแก้ปัญหานี้ได 


ข้อดีของระบบ PACS

1. ผลดีต่อกระบวนการรักษาพยาบาล

  • ลดเวลาในการตรวจ และรอคอยผลการเอ็กซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์ม และการค้นหาฟิล์มเก่า
  • ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาพยาบาลเร็วขึ้น
  • เนื่องจากสามารถเรียกข้อมูลเก่าที่เก็บไว้ในระบบได้ตลอด เวลาทำให้แพทย์ สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ของโรคได้ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ยิ่งขึ้น และช่วยในการวาง แผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ จะได้รับเนื่องจากการถ่ายฟิล์มซ้ำ ที่เกิดจากการตั้งค่าเทคนิค ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย

2. ประหยัดทรัพยากรและ รักษาสิ่งแวดล้อม

  • ลดอัตราการสูญเสียฟิล์มในการเอ็กซเรย์ซ้ำ เพราะระบบการถ่ายเอ็กซเรย์ที่เก็บภาพแบบ Digital ทำให้ รังสีแพทย์ สามารถที่จะทำการปรับค่า ความสว่างของภาพได้
  • ลดการสูญหายของฟิล์มเอ็กซเรย์ที่จะเกิดขึ้นในระบบเก่า
  • ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการล้างฟิล์ม ( น้ำยาล้างฟิล์ม และ น้ำเสียจากเครื่องล้างฟิล์ม)
  • ลดพื้นที่ในการจัดเก็บฟิล์มเอ็กซเรย์ จะไม่มีการเสื่อมสภาพของภาพรังสี เพราะว่าข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีจะถูกเก็บในรูปแบบ Digital

ระบบ PACS จัดเก็บภาพเอ็กซเรย์อย่างไร

สำหรับระบบ PACS ในแผนกเอกซเรย์ สามารถทกการรับสัญญาฯ โดยทำการเชื่อมภาพที่เกิดจากเครื่องมือต่างๆ โดยผ่านมาตราฐานภาพ DICOM ดังนี้
       1.Spiral Computed Tomography เป็นเครื่องตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ระบบใหม่
       2.Digital Subtraction Imaging เป็นเครื่องตรวจเอ็กซเรย์ร่วมกับสารทึบรังสี เช่น การตรวจกระเพาะอาหาร ฯ
       3.Color Doppler Ultrasound เป็นเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงระบบใหม่ สามารถตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือดได้
       4.Computed Radiograph (CR system) เป็นการถ่ายเอ็กซเรย์ทั่วไป แต่ใช้ Imaging plate แทนฟิล์ม แล้วนำเข้าเครื่องอ่าน

ซึ่งจะได้ภาพเป็น digital image ซึ่งสามารถส่งเข้าจอวินิจฉัยภาพของรังสีแพทย์เพื่อแปลผล และส่งให้แพทย์ผู้ส่งตรวจได้พร้อมกันภาพจากเครื่องดังกล่าวทั้งหมดเป็นระบบดิจิตอลวึ่งจะถูกส่งมาเก็บในฐานข้อมูลของระบบ PACS และส่งไปยังจุดต่างๆที่จำเป็นทั่วโรงพยาบาลดังนั้นเครื่องๆ ที่เป็นDigital และมีมาตราฐาน DICOM ก็สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบ PACS ได้


ถ้าเราต้องการฟิล์มเอ็กซเรย์จะทำอย่างไร

บางครั้งเราจะพบว่า มีผู้ป่วยต้องการฟิล์มเอ็กซเรย์ ไปใช้ในการรักษาต่อที่อื่นซึ่งต้องใช้ฟิล์ม ในระบบ PACS สามารถที่จะทำการพิมพ์ภาพถ่ายทางรังสีออกมาได้ โดยใช้เครื่อง Dry Thermal Imager ซึ่งต่อเชื่อมโยงกับระบบ PACS ที่ใช้สำหรับพิมพ์ภาพถ่ายทางเอ็กซเรย์ลงฟิล์มเอ็กเซย์พิเศษได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยัง สามารถขอรับภาพถ่ายทางรังสีใ นรูปแบบของแผ่น CD แทนแผ่นฟิล์มเพื่อนำไปทำการรักษา ต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องถือฟิล์ม จำนวนมากอีกต่อไป (ในกรณีที่สถานพยาบาล ที่จะใช้ข้อมูลภาพเหล่านี้มีระบบคอมพิวเตอร์ที่รองรับได้)

มีผู้กล่าวเอาไว้ว่า ภายในอนาคตอันใกล้นี้ แผนกเอ็กซเรย์ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะมีการควบคุมด้วยระบบ PACS การโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้มีการ นำเอาระบบ PACS เข้าใช้ในแผนกเอ็กซเรย์ ของโรงพยาบาล และในอนาคต คาดว่าจะมีโรงพยาบาล หลายแห่งจะมีการติดตั้งระบบ PACS กันมากขึ้น ซึ่งนั้นก็หมายความว่า ผู้เข้ามาใช้บริการ ของโรงพยาบาล จะได้รับความสะดวก และรวดเร็ว ในการตรวจบริการ ของแผนกเอ็กซเรย์ รวมไปถึงได้รับการวินิจฉัย และการรักษาพยาบาล จากแพทย์โดยเร็ว และ มีประสิทธิภาพ มากขึ้นอีกด้วย รวมทั้งสามารถ ที่จะทำการปรึกษาผลวินิจฉัยภาพได้ระหว่างโรงพยาบาล ที่มีการติดดั้งระบบ PACS ได้เช่นกัน


การเชื่อมต่อระบบ PACS เข้ากับระบบ HIS (Hospital Information System)

หรือ RIS (Radiology Information System)

ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนนะครับ ว่าการเชื่อต่อระบบ PACS เข้ากับระบบโรงพยาบาล หรือระบบเอกซเรย์ (โปรแกรม) จะมีประโยชน์อะไรบ้างประโยชน์ของการต่อระบบ PACS เข้ากับ HIS หรือ RISเมื่อมีการ Key ข้อมูลคนไข้ระบบจะทำการนำเอาข้อมูลภาพที่ถูกเก็บใน ระยะ 2 -3 ของระบบมารอให้ที่ Server ของ PACS ระยะที่ 2 และ 3ก็คือ Short term(Near Line) และ Long Term(Off Line)

  • ลดการรอคอยในการเรียกภาพเอกซเรย์เก่ามาดู
  • มีความถูกต้องของข้อมูลชื่อ ID ข้อมูลต่างๆ ของคนไข้
  • การเรียกดู Report กับภาพ สามารถทำได้ทันทีในหน้าคอมเดียวกัน

ในการเชื่อมต่อระบบ PACS กับระบบ HIS หรือ RIS นั้น แต่ก่อนผมมีความเข้าใจว่า การเชื่อมต่อจะทำได้ ก็ต่อเมื่อ ระบบ HIS หรือ RIS เป็น HL7 เท่านั้นโดยความคิดส่วนตัวคิดว่าน่าจะเชื่อมต่อได้ แม้ว่าระบบ HIS จะไม่เป็นมาตราฐาน HL7 ก็ตามและจากที่ผมได้ลองค้นหาข้อมูล ก็พบว่าการเชื่อมต่อ ระหว่างระบบ PACSกับ HIS จะต้องมีตัวเชื่อม ที่เรียกว่า PACS Broker ใช้ในการเชื่อมต่อ แต่ว่าการเชื่อมต่อโดยตรงกับ HIS กับ PACS Broker จะต้องไปเป็นไปตาม มาตราฐาน HL7 เท่านั้นจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องต่อระบบ PACS กับระบบ HIS หรือ RIS เราจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันระบบ PACS ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ยังไม่ค่อยได้มีการเชื่อมต่อระบบ PACS กัน สาเหตุก็เพราะว่า ระบบ HIS ของโรงพยาบาลต่างๆไม่เป็นไปตาม HL7 การเชื่อมต่อระบบ จึงทำได้ยาก และต้องใช้เงินทุนสูง ในการพัฒนามาก เป็นหลักล้านบาท โดยความคิดส่วนตัวแล้ว การเชื่อมต่อก็จำเป็น ถ้าสามารถที่จะดำเนินการได้ ก็ควรที่จะทำ แต่เนื่อง ด้วยที่เงินทุนในระดับสูง คงต้องพิจารณาให้ดี แต่ถ้าโรงพยาบาลใดไม่เชื่อมต่อ ก็สามารถทำ ได้แต่ต้อง มีการบริหาร การจัดการระบบ PACS ให้ดี โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนเนื้อที่การจัดเก็บข้อมูล(Storage) ซึ่งสำคัญที่สุด และ ความถูกต้องของข้อมูลคนไข้


DICOM คืออะไร

Digital Imaging and Communications in Medicine (DICOM) เป็นมาตราฐานที่กำหนด โดย National Electrical Manufacturers Association (NEMA)โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการเผยแพร่ ภาพทางการแพทย์ เช่น CT scans,MRIs, CR, หรือ ultrasound และ ภาพทางการแพทย์ อื่นๆ ในบทที่ 10 ของมาตราฐาน ได้อธิบายถึงรูปแบบของFile ที่ใช้ในการกำหนด ให้เป็นมาตราฐาน เดียวกัน เพื่อ ภาพจะสามารถ แลกเปลี่ยนกันได้ในระหว่าง เครื่องมือทางการแพทย์ หรือ Software ทางการแพทย์ ให้สามารถอ่านข้อมูลของคนไข้ ที่มาจากเครื่องมือต่างชนิด หรือต่างบริษัทได้

DICOM File จะประกอบด้วยข้อมูลในส่วน หัวของ File หรือที่เรียกว่า Header (โดย Headerจะประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับคนไข้ ชื่อ นามสกุล รูปแบบ ของภาพ จำนวนภาพ ลักษณะของภาพ และอื่นๆ) DICOM เป็นมาตราฐานที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็น Digital ในรุ่นใหม่ๆ ต้องสนับสนุน มาตราฐานนี้ หาก เครื่องมือใดที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบ PACS ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็น DICOMก็ได้ แต่หากจะให้ดีเพื่อการพัฒนาในอนาคต ควรเลือกเครื่อง มือทางการแพทย์ให้ เป็น DICOM จะดีกว่า


PACS Administrator

ก็คือผู้ที่ดูแลระบบ PACS เนื่องจากปัญหาการใช้งานต่างๆ เกี่ยวกับระบบ PACS มักจะเกิดขึ้นมากมายหลายสาเหตและมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาแบบ Real Time  PACS admin ไม่ได้รับผิดชอบดูเฉพาะระบบ PACSเท่านั้น ซึ่งต้องรับผิดชอบดูระบบ RIS หรือ HIS อีกด้วยเพราะระบบPACSที่สมบูรณ์จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบPACS และระบบRIS หรือHIS ด้วยหากมีปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลเราก็จำเป็นที่จะต้องเข้าไปแก้ไขในระบบนั้นๆด้วย


ผู้ที่เป็น PACS Admin ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
การจะเป็น PACS Admin ได้ดี ควรที่จะมีคุณสมบัติทั้ง 2 อย่าง คือ RT (ความรู้ทางด้านรังสีวิทยา)  และ IT หากมีความรู้ทางด้าน IT อย่างเดียวก็จะไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับ ภาพและ Order ได้ เช่น การนำเอาภาพที่เอกซเรย์ไปใส่ใน Order ที่ถูกต้องจะรู้ได้อย่างไร ว่าภาพนั้นคือภาพอะไรและ Order อะไร  ทั้งนี้และทั้งนั้น PACS Adminที่มาจากสาย IT ก็อาจจะต้องใช้เวลาเรียนรู้เกี่ยวกับภาพเอกซเรย์พอสมควรภาพ TM Joint  ดูออกไหมครับถ้าดูออกแสดงว่าคุณมีความรู้ทางด้านRT (anatomy)


PACS Admin จะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้ว ความรู้และความสามารถในการดูแลระบบ PACS ของแต่ละที่จะมีความแตกต่างกัน บางแห่งต้องใช้ความรู้สูง บางแห่งแค่ดูโปรแกรมทำงาน บางแห่งอาจจะมี Engineer Support บางแห่งต้องทำเองหมด อันนี้ก็แตกต่างกัน ความรู้พื้นฐานที่ PACS Admin ก็มีมากมาย ซึ่งลองดูได้จาก Course Outline ของหลักสูตร Certificate ต่างๆ ของPACS Admin ทั้งในและต่างประเทศ  หลักๆ คือต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Computer, Network communication , DICOM,  HL7 จะเห็นได้ว่า Certificate หลายแห่งได้จัด Course สำหรับคนสาย RT โดยเฉพาะ แต่ก็มีบางแห่งที่แยก เนื้อหาของ Course ออกเป็น Clinicalกับ Technical เพื่อที่ให้สาย IT ได้เรียนรู้ทางด้าน Clinical เพิ่มเติมมาดู Course Outline ของหลักสูตร PACS Administrator ของแต่ละที่ว่ามีอะไรกันบ้าง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าPACS Admin ต้องมีความรู้พื้นฐานได้จาก ตัวอย่าง Course Outline Training  เหล่านี้ได้

การพัฒนาเข้าสู่ระบบ PACS ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ งบประมาณ เพราะว่าเครื่องมือต่างๆ ที่จะสามารถใช้งานกับระบบ PACS ได้ต้องเป็น Digital ทั้งนั้น แต่ก็สามารถใช้เครื่องมือ ที่มีความสามารถในการแปลงข้อมูลจาก Analog เป็น Digital ได้ด้วย ซึ่งก็จะช่วยลดต้นทุนได้เหมือนกัน


เรามาดูว่าส่วนประกอบของระบบ PACS ต้องมีอะไรบ้าง
       1. เครื่อง Xray ที่เป็น DICOM หรืออาจจะใช้ DICOM Converter สำหรับ CT U/S
       2. กรณีเอกซเรย์ General เราสามารถใช้ CR แทนเครื่องเอกซเรย์ ที่เป็น Digital ได้ หรือ จะเป็น DR แบบที่ไม่ต้อง Fix กับเครื่อง Xray ก็ได้
       3. ระบบ RIS หรือ Broker เป็นตัวที่ใช้จัดการแผนกเอกซเรย์ต่างๆ เช่น Order นัดหมาย Report ลงทะเบียนคนไข้ ซึ่งส่งนี้จะเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการส่งเข้าสู่เครื่องเอกซเรย์ และ ระบบ PACS ต่อไป
       4. DMWL : Dicom Modality Work List เป็นตัวกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล จากระบบ RIS ,HIS หรือ Broker เข้าสู่เครื่องเอกซเรย์ซึ่งจะทำให้ข้อมูลของคนไข้เป็นข้อมูลเดียวกัน และลดปัญหาเรื่อง                 Human Error ในการใส่ข้อมูลคนไข้ในเครื่องมือ เอกซเรย์

       5.จออ่านภาพ Xray (Medical Grade) เป็นส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับ รังสีแพทย์ใช้ในการอ่านผลเอกซเรย์ ซึ่งปัจจุบันราคาเริ่มถูกลงอย่างมากและมีหลายยี่ห้อด้วยกัน

       6.เครื่อง Print Film DICOM เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่ยังคงขาดไม่ได้ ในปัจจุบัน
       7. Storage เป็นส่วนสำคัญมาอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องวางแผนให้ดีๆ และทุกวันนี้ราคาก็ถูกลงมากๆ และ การสำรองข้อมูลของ Storage ก็สำคัญ
       8. ระบบ PACS เป็นระบบ ที่เข้ามาบริหารจัดการข้อมูลภาพ DICOM ซึ่งในส่วนนี้มีหลาย Vendorมากมายให้เลือกขึ้นอยู่กับ Option ต่างๆ มีหลายราคา หลักสิบล้านจนถึงฟรี
       9. เครื่อง PC สำหรับห้องตรวจต่างๆ พร้อม จอสำหรับดูภาพ DICOM แทน Film

จากทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมีหมดระบบ PACS ก็สามารถขึ้นได้ แต่จะไม่ใช่ระบบ PACS ที่สมบูรณ์จะเห็นได้ว่าถ้าเราจะพัฒนาระบบเอกซเรย์ให้เป็น Digital คงต้องใช้เงินมากมาย แต่เราก็สามารถที่จะประยุกต์ Technology เอามาใช้ได้ตามความเหมาะสมโรงพยาบาลขนาดเล็กๆ ก็สามารถที่จะใช้ระบบ PACS ได้เหมือนกันขึ้นอยู่กับงบประมาณ และการออกแบบระบบ ก็จะทำให้เราไม่ต้องใช้งบประมาณที่มากมาย อย่างโรงพยาบาลใหญ่ๆ เป้าหมายที่หลักของระบบ PACS ที่แท้จริงก็คือ Filmless หรือ Digital นั้นเอง การจะพัฒนาโรงพยาบาลให้ใช้ระบบ PACS ของวางแผนทีละหน่วยงานทีละกลุ่ม เช่น กลุ่มแรก ER Ortho CCU ICU OR กลุ่มที่สอง MED PED เป็นต้น


 

   รูปภาพเพิ่มเติม