Mammo

ตรวจวัดมวลกระดูก

ตรวจวัดมวลกระดูก

Bone densitometer


การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก

เป็นเทคนิกการตรวจทางรังสีวิทยาที่มีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ในระยะแรกเริ่มปัจจุบันทางการแพทย์นิยมใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนที่แพร่หลายมากชนิดหนึ่งการตรวจด้วยเครื่องBONE Densitometry เป็นวิธีการตรวจที่จะได้ค่าความหนาแน่นของกระดูก ที่มาตรฐาน ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดในขณะนี้ ในปี คศ. 1994 World Health Oragnization (WHO) working group22 ได้กำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนโดยใช้ T-score ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบค่า BMD ของผู้ป่วยว่าเป็นกี่ standard deviation (SD) ของBMD ของ healthy young adult ที่ peak bone mass (BMDy) ดังนั้นการแปลผลการตรวจ BMD จะวิเคราะห์ผลการตรวจเทียบกับกราฟมาตรฐานในคนปกติสำหรับเครื่อง DEXAจะมีโปรแกรมคำนวณความหนาแน่นของกระดูกแต่ละส่วน โดยมีหน่วยเป็น gm/cm2 แล้วนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานโดยสูตรการคำนวณค่า T-score และ Z-scoreโดย BMDp คือค่า BMD ของผู้ป่วย BMDy คือค่า BMD ของ healthy young adult ที่ peak bone mass  SDy คือค่า standard deviationของ healthy young adult  BMDamคือค่า BMD ของ age-matched  SDam คือค่า standard deviation ของ age-matched


โรคกระดูกพรุน Osteoporosis

เป็นภาวะที่กระดูกมีปริมาณธาตุแคลเซี่ยม น้อยกว่าคนปกติกระดูกจะมีสภาพเหมือนไม้ผุเก่าๆ ซึ่งไม้เหล่านี้จะขาดความแข็งแรงและแตกหักได้ง่าย กระดูกที่เป็นกระดูกพรุนก็เช่นกันความสำคัญของกระดูกพรุน อยู่ที่คนเหล่านี้ มีโอกาสกระดูกหักได้ง่ายจากการกระทบ กระแทกเล็กๆ น้อยๆ ที่คนปกติเขาไม่มีปัญหากัน บริเวณที่พบกระดูกหักบ่อยๆคือ บริเวณข้อมือ ข้อ สะโพก และกระดูกสันหลัง กระดูกที่หักโดยเฉพาะบริเวณข้อสะโพกและกระดูกสันหลังนั้นจะทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมาน โดยไม่สมควร เพราะเราสามารถป้องกันได้โดยการตรวจ และรับการรักษาเสียก่อนทราบหรือไม่ว่าภาวะกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว หากไม่เตรียมรับมือเสียแต่วันนี้ปล่อยทิ้งไว้อาจสายจนเกินเยียวยา กระดูกพรุนเป็นภาวะที่มวลหรือความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงทำให้กระดูกเปราะบางแตกหักได้ง่ายซึ่งตามปกติมวลกระดูกของคนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่อายุประมาณ 30-35 ปี จากนั้นมวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลงเรื่อย ๆ แต่จะลดลงอย่างมากในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศทำให้อัตราการสูญเสียเนื้อเยื่อกระดูกเพิ่มมากกว่าปกติถึง 10 เท่า จริง ๆ แล้วภาวะนี้ป้องกันได้ โดยการสะสมมวลกระดูกในปริมาณมากตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว เมื่อถึงเวลาที่มวลกระดูกลดลงอย่างช้า ๆ ตามอายุก็จะมีมวลกระดูกเหลืออยู่มากพอซึ่งการเสริมสร้างมวลกระดูกทำได้โดย ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง (เช่น นม ผักใบเขียว ปลาตัวเล็กตัวน้อย)ให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่นดื่มสุราสูบบุหรี่ไม่ควรทานยาสเตียรอยด์หรือยาชุดเป็นประจำ ฯลฯ

ส่วนหญิงวัยหมดประจำเดือนสามารถชะลออัตราการลดลงของมวลกระดูกได้ด้วยการปฏิบัติอย่างเดียวกันร่วมกับการรับประทานยาเสริมกระดูกหรือฮอร์โมนเพศหญิง แต่ถึงจะปฏิบัติอย่างที่ว่าแล้วก็อย่าเพิ่งวางใจยิ่งใครที่ไม่เคยดูแลสุขภาพมาแต่ต้น ยิ่งต้องระวัง เพราะภาวะกระดูกพรุนแทบไม่มีอาการบ่งบอกให้ทราบเลยว่าเป็นโรคนี้อยู่ จะทราบได้ก็จากการตรวจวัดหาปริมาณเนื้อกระดูก (Bone mineral density) ด้วยเครื่องตรวจวัดมวลกระดูกเท่านั้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดจะทำให้ทราบความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักของบุคคลหนึ่ง


ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

หญิงวัยหมดประจำเดือนการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้นผู้สูงอายุชาวเอเซียและคนผิวขาว  โรคกระดูกพรุนถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ ตามสถิติพบว่า สองชนชาตินี้มีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวดำ รูปร่างเล็กผอม รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ ออกกำลังน้อยไป สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์ เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนและอาหารมีกากมากเกินไรับประทานอาหารเค็มจัด


อาการของโรคกระดูกพรุน

ระยะแรกมักไม่มีอาการเมื่อเริ่มมีอาการแสดงว่าเป็นโรคมากแล้วอาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อยๆลดลง หลังจะโก่งค่อมหากหลังโก่งค่อมมากๆจะ ทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิกเคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ จะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อและท้องผูกเป็นประจำโรคแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมาก ได้แก่กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือ ซึ่งหากที่กระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถเคลื่อนไหว ไปไหนได้


การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

วิธีที่ดีที่สุด คือ การเสริมสร้างเนื้อกระดูกของร่างกายให้มากที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยควรให้ความสนใจในการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยการปฏิบัติตนดังนี้ รับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่น นม โยเกิร์ต กุ้งแห้งตัวเล็ก กุ้งฝอย ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไปเลี่ยงอาหารเค็มจัดออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดี ป้องกันการหกล้มได้  หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ  เลี่ยงยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์  ระมัดระวังตนเองไม่ให้หกล้ม การใช้ยาในการป้องกันและรักษาจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ เพศและระยะเวลาหลังการหมดประจำเดือน



ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นกระดูกพรุน

กระดูกเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกควบคุม โดยฮอร์โมนหลายอย่าง และโดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ การลงน้ำหนักทำให้กระดูกมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา การขาดการลงน้ำหนัก จะมีผลต่อกระดูกเช่นกัน เราจึงพบภาวะกระดูกพรุนได้บ่อยในสตรีวัยหมดประจำเดือน และในผู้ที่ขาดการลงน้ำหนัก เช่น คนที่นอนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังพบในคนไข้โรคไตวายเรื้อรัง ผู้ได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน


การตรวจวินิจฉัย

การตรวจเพื่อวินิจฉัยสภาวะกระดูกพรุนนี้ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูก ( Bone density scan )เครื่องจะตรวจบริเวณกระดูกตัวอย่างด้วยกรรมวิธีพิเศษ แล้ววัดหาค่าความหนาแน่นของกระดูกตรงนั้น ค่าที่ได้จะถูกเปรียบเทียบกับค่าปกติของคนทั่วไป คนที่มีค่าที่วัดได้น้อยกว่า 2.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานถือว่าผิดปกติ การตรวจนี้สามารถทำได้หลายวิธี ที่นิยมคือการใช้รังสีเอกซเรย์ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อการตรวจนี้ บริเวณที่ตรวจที่ง่ายที่สุด คือบริเวณกระดูกข้อมือ ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณตัวอย่างของกระดูกทั่วร่างกาย ในบางกรณีอาจต้องตรวจเฉพาะที่ เช่น กระดูกสันหลังการตรวจที่ว่านี้ใช้เวลาเพียง 3-5 นาที โดยไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเลยไม่มีการใช้ยา ไม่เจ็บปวด และไม่มีอันตรายแต่อย่างใด


บุคคลที่ควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกเพื่อค้นหาโรคกระดูกพรุน

       + หญิงทุกคนที่มีอายุมากกว่า  65 ปี
       + หญิงวัยหมดประจำเดือน แม้ว่าอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน
       + หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีประวัติกระดูกหัก หรือมีภาพเอกซเรย์กระดูกผิดปกติ
       + หญิงที่ต้องรักษาโรคกระดูกพรุน การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจะช่วยในการตัดสินใจ
       + หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตเจน มาเป็นระยะเวลานานๆ
       + บุคคลที่มีภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติ
       + บุคคลที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
       + บุคคลที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเกิน
       + เพื่อติดตามการรักษากระดูกพรุน


 

   รูปภาพเพิ่มเติม