ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง
ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง
Echocardiogram
ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ โดยหัวตรวจชนิดพิเศษเมื่อคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งแตกต่างกันระหว่างน้ำเนื่อเยื่อคอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างภาพดังนั้น ภาพที่เห็นก็คือหัวใจของผู้ป่วย Echocardiogram จึงช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคพยากรณ์โรคตรวจหาความรุนแรงติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะไม่เห็นหลอดเลือดหัวใจโดยตรงและอาจได้ภาพไม่ชัดเจนในผู้ป่วยที่อ้วนหรือผอมมากหรือมีถุงลมโป่งพองเนื่องจากไขมันและอากาศขัดขวางคลื่นเสียงความถี่สูง
การตรวจ Echo นิยมทำ 2 วิธีคือ
1.ตรวจโดยการใช้หัวตรวจ ตรวจบริเวณผนังทรวงอกด้านนอก (Tran Thoracic Echocardiogram) เป็นการตรวจที่นิยมทำกันทั่วไป วิธีการค่อนข้างง่ายไม่เจ็บตัว ไม่มีอันตรายใดๆ เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อย ท่านจะสามารถทราบผลการตรวจได้ทันที
2.ตรวจโดยการใช้หัวตรวจสอดผ่านช่องปากเข้าไปอยู่ในหลอดอาหารซึ่งเป็นตำแหน่งด้านหลังของหัวใจโดยตรง (Tran Esophageal Echocardiogram) การตรวจวิธีนี้สามารถตรวจโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดที่อยู่ด้านหลังหัวใจ เช่น หัวใจห้องซ้ายบน ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ ได้ชัดเจนกว่าวิธีแรกวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางราย เช่น ผนังหน้าอก หนามาก (อ้วน) เป็นต้นแต่การตรวจวิธีนี้ไม่ได้ใช้ทดแทนการตรวจวิธีแรกจะทำเฉพาะในรายที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้นเนื่องจากอาจมีอันตรายต่อหลอดอาหารได้แต่ก็พบน้อยมากน้อยกว่าร้อยละ 0.5
ขั้นตอนการตรวจ
กรณีตรวจผ่านผนังทรวงอกด้านหน้า
- แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงราบตะแคงไปด้านซ้ายเล็กน้อยมือซ้ายพาดขึ้นบนและเปิดส่วนของเสื้อผ้าบริเวณหน้าอกออก
- เจ้าหน้าที่จะทำการติดแผ่นขั้วคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 3 จุดบริเวณ ไหล่ 2 ข้าง และบริเวณท้องอีก 1 จุด
- แพทย์จะเริ่มทำการตรวจโดยใช้เจลใสป้ายบริเวณหน้าอกและใช้หัวตรวจซึ่งไม่มีความแหลมกดบริเวณหน้าอกและขยับไปมาตามตำแหน่งที่ต้องการให้เห็นภาพและขณะตรวจแพทย์จะปล่อยสัญญาณคลื่นเสียงในจุดต่างๆ ในหัวใจซึ่งจะได้ยินเสียงดังฟู่ๆ ตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
กรณีตรวจผ่านกล้องตรวจในหลอดอาหาร
- ขั้นแรกหลังจากมีการเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจดังกล่าวข้างต้นแล้ว แพทย์จะให้อมยาชาและพ่นยาชาเหมือนขั้นการส่องกล้องกระเพาะอาหาร
- เจ้าหน้าที่จะทำการติดแผ่นขั้วคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 3 จุดบริเวณ ไหล่ 2 ข้าง และบริเวณท้องอีก 1 จุด และแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายก้มศีรษะลงและเริ่มใส่กล้องตรวจซึ่งเคลือบด้วยเจลหล่อลื่นผ่านปากเข้าไปในหลอดอาหารซึ่งอยู่ด้านหลังของหัวใจ
- ขณะตรวจแพทย์จะมีการหมุนหัวตรวจในตำแหน่งต่างๆ รวมทั้งมีการเลื่อนขึ้นลงของกล้องตรวจเพื่อดูหัวใจตำแหน่งต่างๆ
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
สำหรับการตรวจวิธีที่ 1 ไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าแต่ประการใด ส่วนการตรวจวิธีที่ 2 ต้องเตรียมดังนี้
1. ผู้รับการตรวจจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้งดน้ำงดอาหาร 4 - 6 ชม. ก่อนตรวจ
2. ผู้รับการตรวจต้องไม่มีประวัติแพ้ยาและประวัติกลืนลำบาก
3. ในวันตรวจหากผู้รับการตรวจมีฟันปลอมควรถอดเก็บไว้ก่อน
4. ผู้รับการตรวจทุกรายต้องลงชื่อในใบยินยอมก่อนการตรวจทุกครั้ง
การตรวจ Echo สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกเพศวัยแม้กระทั่งสตรีมีครรภ์ โดยจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ทั้งสิ้นทั้งนี้เนื่องจากไม่ได้มีการใช้รังสีเข้ามาเกี่ยวข้องแต่เป็นการใช้ประโยชน์จากคลื่นเสียงเท่านั้น
ข้อห้ามในการตรวจ
กรณีการตรวจผ่านผนังทรวงอกด้านหน้า (Transthoracic echocardiography) ไม่มีข้อห้ามในการตรวจ ส่วนกรณีการตรวจผ่านกล้องตรวจในหลอดอาหาร ( Transesophygeal echocardiography) มีข้อห้ามสำหรับ โรคต่อไปนี้ที่ไม่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ คือ
1. ภาวะหลอดอาหารตีบตันหรือมีมะเร็งหลอดอาหาร
2. มีแผลในหลอดอาหารหรือมีภาวะเลือดออกในหลอดอาหารหรือมีเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร
3. เป็นโรคที่เรียกว่า Zenker’s diverticulum
4. ผู้เข้ารับการตรวจไม่ร่วมมือหรือมีสภาพจิตผิดปกติที่มีผลต่อความร่วมมือในการตรวจ
5. มีประวัติกลืนอาหารลำบากหรือเจ็บเวลากลืนอาหารซึ่งต้องหาสาเหตุก่อนเข้ารับการตรวจ
เมื่อไรแพทย์จึงจะสั่งตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Chocardiography
แพทย์จะสั่งการตรวจเมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจโดยมีภาวะต่อดังต่อไปนี้ เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือมีรูรั่ว ( Murmurs )เสี่ยงที่ผิดปกติเกิดจากการไหลวนของกระแสเลือดไหลผ่านลิ้นที่ตีบหรือรูรั่วที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีรูรั่วหรือลิ้นตีบจะมีประโยชน์หลายประการดังนี้
- เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากการตีบหรือรั่วที่ไหน
- เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียน
- เพื่อตรวจความผิดปกติอื่นที่อาจจะพบร่วมกัน
- เพื่อตรวจผลเสียที่เกิดจากการรั่วหรือตีบ
- ประเมินขนาดของรูรั่วหรือตีบ
- ประเมินการทำงานของหัวใจ
- ประเมินการทำงานหรือรูรั่วไว้เพื่อเปรียบเทียบ
- ประเมินผู้ป่วยหลังการรักษา
แพทย์จะสั่งตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงแก่ผู้ป่วยที่มีเสียงหัวใจผิดปกติทุกคนหรือไม่
แม้ว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีความปลอดภัยและไม่เจ็บปวด แต่แพทย์ก็ไม่ได้ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงทุกรายจะเลือกในรายที่มีลักษณะดังนี้มีเสียงหัวใจผิดปกติร่วมกับอาการของโรคปอดหรือหัวใจ ผู้ป่วยไม่มีอาการและมีเสียงหัวใจผิดปกติและสงสัยว่าเกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ ภาวะหรือโรคที่ทำให้เกิดเสียงฟู่(Murmurs) ได้แก่ ลิ้นหัวใจตีบ stenosis ลิ้วหัวใจรั่ว Regurgitation ลิ้นหัวใจหย่อน Mitral valve Prolapse ลิ้นหัวใจอักเสบ Infective Endocarditis ลิ้นหัวใจเทียม Prosthetic Valves ผนังหัวใจรั่ว เมื่อคุณมีอาการเจ็บหน้าอกแม้ว่าอาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการที่สำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเส้นเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ แต่อาการเจ็บหน้าอกก็อาจจะเกิดจากโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนา hypertrophiccardiomyopathy, ลิ้นหัวใจตีบ valvular aortic stenosis,หลอดเลือดแดงใหญ่แตก aortic dissection, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ pericarditis, ลิ้นหัวใจหย่อน MVP,and ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดในปอด acute pulmonary embolism, ดังนั้นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีประโยชน์เพื่อแยกอาการเจ็บหน้าอกว่ามาจากหัวใจหรือจากที่อื่น
ข้อบ่งชี้ในการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเมื่อผู้ป่วยเจ็บหน้าอก
- เพื่อตรวจดูว่ามีโรคหัวใจอยู่หรือไม่ เช่นลิ้นหัวใจตีบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเป็นต้น
- เมื่อผู้ป่วยเจ็บหน้าอกและการตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นไม่ช่วยในการวินิจฉัยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในขณะเจ็บหน้าอกหรือหลังเจ็บหน้าอกไม่กี่นาทีจะช่วยวินิจฉัยโรค
- เมื่อสงสัยว่าหลอดเลือดแดงใหญ่จะแตก aortic dissection
- เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกและให้การรักษาอย่างอื่นแล้วไม่ดีขึ้น
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วมกับการตรวจ Doppler จะช่วยในการวินิจฉัยได้มาก เราแบ่งโรคหัวใจขาดเลือดออกเป็น
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
การตรวจหัวใจโรคหัวใจวายหรือโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
การตรวจ Echo มีประโยชน์มากในการประเมินการทำงานของหัวใจ การตรวจนี้สามารถบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาเท่าใดหัวใจโตหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวดีหรือไม่ โรคหรือกลุ่มอาการที่การตรวจ Echo ประโยชน์ของการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูงคือ ประเมินการทำงานของหัวใจโดยการดู Ejaction fraction (ปริมาณเลือดที่บีบตัวออกแต่ละครั้งเมื่อเทียบกับปริมาณเลือดในหัวใจ) ประเมินดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนมีการทำงานผิดปกติหรือไม่(regional Left ventricular function) กลุ่มโรคที่จะตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการบวมและหอบเหนื่อยอาการบวมเกิดจากโรคหัวใจ ตับ ไต โรคหัวใจที่ทำให้เกิดบวมได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ และโรคที่เยื่อหุ้มหัวใจการใช้ Echo จะช่วยบอกว่าอาการบวมนี้เกิดจากโรคหัวใจหรือไม่ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการของโรคหัวใจวายหัวใจวายเป็นภาวะที่บอกว่าหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างพอเพียงทำให้เกิดกลุ่มอาการและอาการแสดง การจะบอกว่วหัวใจวายเกิดจากโรคอะไรจะต้องใช้ echo ช่วยการวินิจฉัย ภาวะหัวใจวายอาจจะเกิดจากหัวใจบีบตัวไม่ดีเราเรียก systolic dysfunctionเช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง ส่วนโรคหัวใจวายที่เกิดจากหัวใจคลายตัวไม่ดีเราเรียกdyastolic dysfunction เช่นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาHypertrophic Cardiomyopathy โรคนี้กล้ามเนื้อหัวใจจะหนามากทำให้เกิดอาการหัวใจวายดูหัวใจห้องขวา