Mammo

ตรวจวัดแรงดันของหลอดเลือด

ตรวจวัดแรงดันของหลอดเลือด

ABI


โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

Peripheral Arterial Diseaseถ้าร่างกายของมนุษย์เปรียบเหมือนเมืองๆ หนึ่ง เส้นเลือดคงไม่ต่างอะไรกับท่อน้ำประปาที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบเพื่อนำน้ำสะอาดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของเมืองแต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ท่อน้ำเกิดอุดตัน เมืองส่วนนั้นก็จะขาดน้ำทันทีร่างกายของคนเราก็เช่นกัน ถ้าเส้นเลือดบริเวณใดเกิดการอุดตันก็จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นได้นานวันเข้าก็จะเกิดปัญหา เช่น บริเวณมือหรือเท้าเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย(Peripheral Arterial Disease) และอาจจะรุ่นแรงยิ่งกว่าถ้าเกิดขึ้นกับอวัยวะที่มีความสำคัญมากๆ เช่น สมอง หัวใจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคสมองขาดเลือด ดังนั้น การดูแลรักษาหลอดเลือดแดงให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ไว้แต่เนิ่นๆโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและทำให้หลอดเลือดแดงที่ขาตีบหรือตันในคนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี พบโรคนี้น้อยกว่า 3% แต่ในคนที่อายุมากกว่า 70 ปี พบถึง มากกว่า 20% พบทั้งในเพศชายและเพศหญิงไม่ต่างกัน ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบแม้จะไม่มีอาการใดๆ ปรากฎก็มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองสูงและในความเป็นจริงผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบกเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

 


อาการแสดงของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

มากกว่า 50% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบที่ตรวจพบด้วยเครื่องตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดงABI (Ankle-brachial index) ไม่แสดงอาการใดๆ ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดน่อง  ตะคริว ชาเท้า  อ่อนแรง โดยเฉพาะเมื่อเวลาเดินและจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกันอาการจะเป็นๆ หายๆ ทางการแพทย์เรียก Intermittent Claudicatioin เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น จะเกิดอาการปวดแม้ขณะพักหากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดเมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติตรวจร่างกายและส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม หากการตรวจเบื้องต้นพบว่าหลอดเลือดแดงตีบค่อนข้างมาก และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขท่านอาจจะต้องได้รับการฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดเพิ่มเติม โดยอาศัยวิธีพิเศษร่วมกับการถ่ายภาพรังสีต่อเนื่องจะช่วยให้ตรวจการไหลเวียนของโลหิตและตำแหน่งของการตีบแคบหรืออุดตันได้

การตรวจภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยเครื่อง ABI การที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบหรือตัน ส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดแข็งตัวขึ้น เนื่องจากไขมันสะสมในผนังด้านในของหลอดเลือดหรืออีกกรณีเกิดจากเมื่อคนเราอายุมากขึ้นผนังหลอดเลือดก็จะหนาขึ้นตามไปด้วยเป็นผลให้หลอดเลือดตีบแคบลงเลือดไหลไม่สะดวกกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดน้อยกว่าปกตินอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยบางอย่างส่งเสริมให้ผนังหลอดเลือดตีบตันและหนาตัวเร็วขึ้นได้แก่ภาวะไขมันในเลือดสูงเบาหวานความดันโลหิตสูงและบุหรี่

แต่ปัจจุบันการตรวจหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เนื่องจากทางการแพทย์ได้คิดค้นการตรวจด้วยเครื่อง ABI ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมล่าสุดทางการแพทย์ที่สามารถตรวจวัดสมรรถภาพของหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการ ตรวจเพียงเล็กน้อย โดยผลจากการตรวจวัดนี้สามารถบอกได้ว่าหลอดเลือดมีสภาพยืดหยุ่นไหลเวียนได้ดี หรือมีสภาพแข็งตัวของหลอดเลือดเกิดการอุดตันอันจะนำไปสู่ปัญหาการไหลเวียนของหลอดเลือด


ABI ย่อมาจากคำว่า ankle-brachial index

คือการหาอัตราส่วน ระหว่าง ความดันโลหิตช่วง systolic ของข้อเท้าหารด้วย ความดันโลหิตช่วง systolic ของแขนโดยใช้การวัดจาก Doppler ultrasonography  ค่าปกติของค่า ABIมีค่าเท่ากับ 0.91-1.3  ถ้าค่า ABI เท่ากับ 0.9 หรือน้อยกว่าแสดงว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลายถ้าค่า ABI เท่ากับ 0.4 พบในรายที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงรุนแรงจากการอุดตันของหลอดเลือดแดง


วิธีตรวจหาค่า ABI

เราจะทำการวัดความดันโลหิตช่วง systolicโดยใช้คลื่นเสียงที่เรียกว่า Doppler ultrasonographyโดยวัดความดันโลหิตที่แขนทั้ง 2 ข้าง(เลือกเอาค่าที่สูงกว่ามาเป็นค่าความดันโลหิตที่แขน) และวัดความดันโลหิตที่ข้อเท้าทั้ง 2 ข้างบริเวณเส้นเลือดแดง anterior tibial และ posterior tibial (วัดความดันโลหิตทั้ง 2 เส้นและเลือกเอาค่าที่สูงกว่ามาใช้คำนวณค่า ABI แต่ละข้าง)
                  ABI ข้างขวา = ความดันโลหิตช่วงsystolic ของข้อเท้าขวา / ความดันโลหิตช่วงsystolicของแขน
                  ABI ข้างซ้าย = ความดันโลหิตช่วงsystolic ของข้อเท้าซ้าย / ความดันโลหิตช่วงsystolicของแขน

โดยการทำงานของเครื่อง ABI จะเป็นการวัดค่าความดันเลือดที่แขนและขาทั้งหมด 4 จุดแล้วนำไปคำนวณร่วมกับข้อมูลของคนไข้ที่ป้อนเข้าไปในเครื่อง ได้แก่ ชื่อสกุล เพศ ปีเกิด น้ำหนักและส่วนสูงจากนั้นเครื่องจะประมวลพร้อมพิมพ์ผลการตรวจวัดแบบอัตโนมัติโดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อธิบายผลการตรวจวัดให้กับคนไข้ 


ค่า ABI ใช้ทำนายพยากรณ์ของโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน
จากการศึกษาในผู้หญิง เกือบ 1500 ราย พบว่า กลุ่มที่มีค่า ABI น้อยกว่า 0.9 มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 เท่า และความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3.7 เท่า ในระยะเวลา 4 ปีโดยทั่วไปถือว่าการมีหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน จะเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ  4-6 เท่าจากการศึกษาใน Framinghamทำในผู้ชาย 251 คน ผู้หญิง 421 คน(อายุเฉลี่ย 80 ปี)พบว่า คนที่มีค่า ABI น้อยกว่า 0.9 มีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว เพิ่มขึ้น 13% และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์เพิ่มขึ้น 5%(adjusted hazard ratio 2.0)


เราควรจะตรวจหาการอุดตันของหลอดเลือดแดงกับใคร

เราควรจะตรวจในรายที่มีอาการและอาการแสดงของการอุดตันของหลอดเลือดแดง เช่น มีอาการปวดบริเวณขาโดยเฉพาะบริเวณน่อง ลักษณะเหมือนตะคริว เป็นมากขึ้นเวลาเดิน ดีขึ้นถ้านั่งพัก หรือตรวจในคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน ได้แก่ คนสูงอายุ, สูบบุหรี่, คนที่เป็นเบาหวาน,คนที่เคยตรวจพบว่าเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดง เช่นที่เส้นเลือดหัวใจ, เส้นเลือดแดงที่คอ, เส้นเลือดแดงที่ไต  สิ่งที่กล่าวมาทั้งนี้ก็คือปัจจัยที่มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามหากเราสามารถตรวจพบโรคนี้เสียแต่เนิ่นๆ ก็จะได้ป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่จะสายเกินไปตั้งแต่วันนี้ ด้วยการตรวจวัดสมรรถภาพของหลอดเลือดด้วยเครื่องABI


ทำไมต้องตรวจหาการอุดตันของหลอดเลือด

ในคนที่ไม่มีอาการแต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงอุดตันจากการศึกษา ในคน 6417 รายที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน ได้แก่ อายุมากกว่า 70 ปี,คนเป็นเบาหวานที่อายุ 50-60 ปี, คนที่สูบบุหรี่มากกว่า 10 ซองต่อปี ตรวจพบการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย(โดยใช้ค่า ankle brachial index 0.9 หรือน้อยกว่า) ทั้งสิ้น 1865 ราย(คิดเป็น 29%) แต่ในจำนวนนี้มีเพียง11% เท่านั้นที่มีอาการชัดเจนของหลอดเลือดอุดตัน นั่นก็หมายความว่า มีจำนวนถึง 89% ของกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคนี้แต่ไม่มีอาการ   การตรวจหาค่า ABI มีความไวและความจำเพาะ ถ้าเราใช้ค่า ABI เท่ากับ 0.9 หรือน้อยกว่าบอกว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย จะมี ความไวของการตรวจ(sensitivity) เท่ากับ 95%  ความจำเพาะของการตรวจ(specificity) เท่ากับ 100%เมื่อเทียบกับการตรวจโดยวิธีการฉีดสี(angiogram)


ค่า ABI ใช้ทำนายพยากรณ์ของโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน

จากการศึกษาในผู้หญิง เกือบ 1500 ราย พบว่า กลุ่มที่มีค่า ABI น้อยกว่า 0.9 มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3เท่า และความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3.7 เท่า ในระยะเวลา 4 ปีโดยทั่วไปถือว่า การมีหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน จะเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ  4-6 เท่าจากการศึกษาในFramingham ทำในผู้ชาย 251 คน ผู้หญิง 421 คน(อายุเฉลี่ย 80 ปี)พบว่า คนที่มีค่า ABI น้อยกว่า 0.9 มีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว เพิ่มขึ้น 13% และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์เพิ่มขึ้น 5%(adjusted hazard ratio 2.0)


ความแม่นยำของค่า ABI

ในการทำนายการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบ

จากการทบทวนข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาทั้งหมด 9 การศึกษา พบว่า การใช้ค่า ABI น้อยกว่า 0.9 บอกว่ามีการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลายนำมาใช้ทำนายการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบมีความไว (sensitivity) 16.5%ความจำเพาะ (specificity) 92.7% การเกิดเส้นเลือดสมองตีบ มีความไว (sensitivity) 16% ความจำเพาะ (specificity) 92.2%การเสียชีวิตจากโรคหัวใจ มีความไว (sensitivity) 4.1% ความจำเพาะ (specificity) 87.9%ดังนั้นจะเห็นว่าความไวในการใช้ทำนายต่ำแต่มีความจำเพาะในการใช้ทำนายค่อนข้างสูงมาป้องกันภัยร้ายที่อาจจะเกิดกับหลอดเลือดก่อนที่จะสายเกินไป ตั้งแต่วันนี้ ด้วยเครื่องตรวจโรคหลอดเลือดส่วนปลาย หรือ ABI

สรุปการตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดงด้วยเครื่อง ABI (Ankle Brachial Index) เป็นวิธีการวัดที่ง่าย และไมแพง เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงส่วนปลายของขาค่าที่ได้มีความแม่นยำสูงมีความไว 90% ความจำเพาะ 98%เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบบีบและอุปกรณ์คลื่นเสียงความถี่สูง โดยเครื่องจะวัดความดันที่หลอดเลือดแขนทั้งสองข้างก่อน จากนั้นเครื่องจะวัดความดันหลอดเลือดที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง ค่า ABI คือ อัตราส่วนระหว่าง ค่าความดันโลหิตตัวบนของข้อเท้าต่อค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตตัวบนของแขนข้างเดียวกันค่า ABI
ที่น้อยกว่า 0.9 ถือว่ามีโรคของหลอดเลือดแดงของขา ค่ายิ่งต่ำบ่งบอกว่าหลอดเลือดตีบมากมีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าค่า ABI ทำนายอัตราการเสียชีวิตได้ การศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่มีอายุเฉลี่ย 66 ปี ที่มีค่า ABI ผิดปกติ จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจมากกว่าผู้ที่มีค่า ABI ปกติ 6.3 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 4.8 เท่าดังนั้นการตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดแดง โดยการใช้เครื่องวัด ABI (Ankle-Brachail Index) จึงช่วยบ่งชี้ความ\เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ ก็จะพิจารณาให้ยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง

สภาวะแข็งตัวของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดตีบแคบ หรือการอุดตันของหลอดเลือด เป็นสาเหตุสำคัญที่สำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ คุณสามารถตรวจพบได้แต่เนิ่นๆ ด้วยเครื่อง ABI (Ankle Brachial Index Vascular Screening) สามารถตรวจเช็คได้ง่ายๆ และไม่เจ็บปวด เพียง 5-10 นาที


 

   รูปภาพเพิ่มเติม