กฎระเบียบและขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ
กฏระเบียบบริษัทและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ
1.การแต่งกายพนักงาน
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นสัญญาลักษณ์ของทีมงาน บริษัทฯขอให้พนักงานทุกท่านโปรดแต่งกายตามแบบที่บริษัทฯกำหนดให้คือ ชุดทีมพนักงาน ติดบัตรพนักงาน สวมรองเท้าหุ้มข้อ กางเกงขายาว กระโปรง ให้สุภาพเรียบร้อย และในระหว่างการปฏิบัติหน้าทีี่ขอให้พนักงานทุกท่านให้ติดบัตรพนักงานทุกวันและตลอดเวลาในการปฏิบัติงาน
พนักงานจะได้รับชุดพนักงานของบริษัทฯ(ถ้าพนักงานไม่ผ่านทดลองงานหรือปฏิบัติงานไม่ครบ 1ปี บริษัทฯจะหักเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่ลาออก/ไม่ผ่านงาน)
2.วันและเวลาในการปฏิบัติงาน
เวลาปฏิบัติงานปกติ เวรกลางคืนหรือเวรวันหยุด
เวลาปฏิบัติงาน และการลงบันทึกเวลาทำงาน
- เวลาปฎิบัติงานปกติ วันจันทร์ -ศุกร์ เวลา 8.30น – 17.00น ยกเว้นวันหยุดนักขัติฤกษ์
- เวลาปฏิบัติงานเวรกลางคืน N คือ 17.00น-24.00-8.30น
- เวลาปฏิบัติงานวันหยุด H คือ 8.30-17.00น
- เจ้าหน้าที่ทุกสาขาทุกคนต้องลงเวลาทำงานโดยแสกนลายนิ้วมือทุกๆครั้งที่ปฏิบัติงาน (เวลาเริ่มทำงาน และ เลิกทำงาน) พนักงานที่ไม่แสกนลายนิ้วมือจะถือว่าไม่ไห้ความร่วมมือ เมื่อมีการพิจารณาปรับโบนัสหรือเงินเดือนจะถุกตัดสิทธิ์ไม่นำมาพิจารณา
- ให้ส่งบันทึกการลาให้ ฝ่ายบุคล คิดค่าตอบแทนทุกสิ้นเดือน สาขาที่ไม่ส่งบันทึกเวลาทำงาน บริษัทฯจะยังไม่คิดค่าตอบแทนให้จนกว่าจะส่งบันทึกเวลาทำงานมาให้ครบ การทุจริตเวลาปฏิบัติงานถือว่ามีความผิด จะถูกตัดสิทธิ์ในการพิจารณาโบนัสและเงินเดือน และอาจถูกดำเนินคดีตามกฏหมายแรงงาน
การลา ขั้นตอนการลา และสิทธิ์ในการลา
การลากิจ
- การลากิจ พนักงานที่มีสิทธิ์ลากิจจะต้องปฏิบัติงานครบ 1 ปีนับจากวันที่เริ่มทำงาน
- สามารถใช้สิทธิ์ในการลากิจได้ ปีละไม่เกิน 8 วัน
- การลากิจห้ามลาคล่อมวันหยุด(วันหยุดเสาร์อาทิตย์/วันนักขัตฤกษ์) กรณีลาคล่อมวันหยุด วันหยุดนั้นๆให้ถือเป็นวันลากิจ
- พนักงานผู้มีสิทธิ์ลากิจต้องยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน โดยเขียนใบลาตามแบบฟอร์มของบริษัทฯและส่งให้หัวหน้าสาขาเซนต์อนุมัติ และส่งให้ฝ่ายบุคคล
- กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องลากะทันหัน ให้โทรลากับหัวหน้าสาขา และได้รับการอนุมัติเท่านั้นจึงจะสามารถใช้สิทธิ์ลาหยุดได้ เมื่อมาปฏิบัติงานให้ทำการเขียนใบลาทันที ส่งให้หัวหน้าสาขาเซนต์ย้อนหลัง และจัดส่งให้ฝ่ายบุคคล
- พนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อ 4 และข้อ 5 ให้ถือว่าขาดงาน และจะถูกพิจารณาหักเงิน ถูกตัดสิทธิ์ในการพิจารณาปรับโบนัสและเงินเดือน หรือถูกพิจารณาให้พ้นสภาพพนักงานโดยไม่ได้รับการชดเชย
การลาพักร้อน
- การลาพักร้อน พนักงานที่มีสิทธิ์ลาพักร้อนจะต้องปฏิบัติงานครบ 1ปีนับจากวันที่เริ่มทำงานงาน
- สามารถใช้สิทธิ์ลาพักร้อนได้ ปีละไม่เกิน 8 วัน
- การลาพักร้อนห้ามดังนี้
- ห้ามลาคล่อมวันหยุด(วันหยุดเสาร์อาทิตย์/วันนักขัตฤกษ์)
- กรณีลาคล่อมวันหยุด วันหยุดนั้นๆให้ถือเป็นวันพักร้อนด้วย
- ห้ามลาเกิน7วันต่อครั้ง
- พนักงานผู้มีสิทธิ์ลาพักร้อน ต้องยื่นใบลาล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน และต้องได้รับการอนุมัติจากหัวหน้าสาขา และจัดส่งให้ฝ่ายบุคคลทันที
- โดยเขียนใบลาตามแบบฟอร์มของบริษัทฯ (ไม่มีข้อยกเว้น) ส่งให้หัวหน้าสาขาเซนต์อนุมัติ และจัดส่งให้ฝ่ายบุคคล
- พนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อ 4 ให้ถือว่าขาดงาน และจะถูกพิจารณาหักเงิน ถูกตัดสิทธิ์ในการพิจารณาปรับโบนัสและเงินเดือน หรือถูกพิจารณาให้พ้นสภาพพนักงานโดยไม่ได้รับการชดเชย
การลาป่วย
- พนักงานที่ลาป่วยต้องโทรแจ้งหัวหน้าสาขาเพื่ออนุมัติ (ยกเว้นอาการโคม่าหรือไม่รู้สึกตัว)
- เมื่อมาปฏิบัติงานให้เขียนใบลาป่วยทันที ส่งให้หัวหน้าสาขาเซนต์อนุมัติ และส่งให้ฝ่ายบุคคล
- พนักงานที่ลาป่วยเกิน 2 วันต้องมีใบรับรองแพทย์มาประกอบใบลาป่วย
- พนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อ 4 ให้ถือว่าขาดงาน และจะถูกพิจารณาหักเงิน ถูกตัดสิทธิ์ในการพิจารณาปรับโบนัสและเงินเดือน หรือถูกพิจารณาให้พ้นสภาพพนักงานโดยไม่ได้รับการชดเชย
การลาคลอดบุตร
- พนักงานสามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดตามกฎหมายแรงงาน
- การจ่ายค่าตอบแทนตามกฏหมายแรงงาน
- พนักงานสามารถลาเลี้ยงดูบุตรดดยไม่รับค่าตอบแทนได้ตามกฏหมาย
การลาบวช
- ให้ยื่นใบลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนและต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าสาขา และส่งให้ฝ่ายบุคคลทันที
- การอนุมัติให้ลาบวชขึ้นกับการพิจารณาร่วมกันระหว่างหัวหน้าสาขาและฝ่ายบุคคล
การลาออก
- พนักงานที่ขอลาออกต้องยื่นใบลาออกแก่หัวหน้าสาขา และส่งให้ฝ่ายบุคคลพิจารณาจึงจะสามารถหยุดปฏิบัติงานได้
- สำหรับตำแหน่งเทคนิเชี่ยนและพนักงานบัญชี ต้องยื่นใบลาออกล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 90 วันทำการ นับจากวันที่ที่ขอยื่นใบลาออก
- ส่วนตำแหน่งอื่นให้ยื่นใบลาออก โดยยื่นใบลาออกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30วันนับจากวันที่ที่ขอยื่นใบลาออก
- บริษัทฯสงวนสิทธ์ในการฟ้องเรียกร้องความเสียหาย งดจ่ายค่าโอทีที่ค้างจ่าย กรณีที่พนักงานลาออกกะทันหัน ทำให้เกิดความเสียหายในการจัดเตรียมพนักงานมาทดแทน
บทลงโทษการขาดงาน
- จะถูกพิจารณาหักเงินวันละ 500บาทต่อวัน
- กรณีขาดงานเกิน 3วันโดยไม่มีเหตุผลอันควร บริษัทฯจะพิจารณาให้พ้นสภาพพนักงานทันที
- พนักงานที่ขาดงาน จะถูกตัดสิทธิ์ในการพิจารณาปรับโบนัสและเงินเดือน
สรุปการลากิจ/พักร้อน/ป่วย/อื่นๆ
- สาขาที่มีเจ้าหน้าลางานนั้น ต้องเขียนใบลา ส่งใบลาให้หัวหน้าสาขาเพื่อเซ็นต์อนุมัติ และส่งใบลามาที่ฝ่ายบุคคล
- สำหรับหัวหน้าสาขา ให้ส่งใบลามาที่ฝ่ายบุคคลโดยตรง
- การลาต้องปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัทอย่างเคร่งครัด
- เฉพาะบัญชีสำนักงานใหญ่ที่ดูแลสาขา ให้นำใบลาส่งให้ฝ่ายบุคคลเพื่อให้มีการอนุมัติต่อไป
- ฟอร์มการลาให้เป็นแบบเดียวกันทุกสาขา
- สำหรับสำนักงานใหญ่ ให้ลากับคุณสุรพล และลงบันทึกการลา
- เจ้าหน้าที่ทุกสาขาทุกคนต้องลงเวลาทำงานทุกครั้ง (เวลาเริ่มทำงาน และ เลิกทำงาน)
- ให้ส่งบันทึกการลาให้ ฝ่ายบุคล คิดค่าตอบแทนทุกสิ้นเดือน
- สาขาที่ไม่ส่งบันทึกเวลาทำงาน บริษัทฯจะยังไม่คิดค่าตอบแทนให้จนกว่าจะส่งบันทึกเวลาทำงานมาให้
3.การคิดค่าเวรกลางคืนหรือวันหยุด
การคิดค่าเวร
เวลาปฏิบัติงานของบริษัท
- เวรปฏิบัติงานตามปกติ หรือ D คือช่วงเวลา 8.30-17.00น
- เวรกลางคืนหรือ N คือช่วงเวลา 17.00-8.30น
- เวรวันหยุดหรือH คือช่วงเวลา 8.30-17.00น
- โอทีคิดเป็นชั่วโมงทำงานหรือ P
- การขึ้นเวรโอทีต้องทำบันทึกและขออนุมัติก่อนทุกครั้ง
- การอยู่เวรสองที่ ห้ามเป็นเจ้าหน้าที่คนเดียวกันขึ้นปฏิบัติงาน ถ้าขึ้นคนเดียวให้คิดค่าเวรให้เวรเดียวเท่านั้น
- การจ้างอยู่เวรต่อ เป็นหน้าที่ของเจ้าของเวรไปจ่ายให้ผู้ที่ขึ้นเวรแทนเอง บริษัทจะไม่รับผิดชอบ
- บางสาขาอาจปรับเปลี่ยนเวลาเพื่อให้เหมาะสมเช่น D หรือ H เวลา7.30-16.00น หรือ8.00-16.00น N เวลา 16.00-7.30 น หรือ 16.00-8.00น
- ค่าเวร P หรือPart time คิดโอทีแบบชั่วโมงการทำงาน มีเงื่อนไขตามตำแหน่งงาน
- การคิดค่าเวร N H P ค่าตอบแทนขึ้นกับปริมาณผู้ป่วยต่อเดือน
- การนับวันที่ขึ้นเวรให้นับตั้งวันที่ 1-31ของเดือนนั้นๆพนักงานที่ลา หรือเหตุผลใดก็แล้วแต่ให้รับผิดชอบในการจ้างเวรหรือจ่ายเงินค่าเวรกันเอง
4.การคิดค่าIntensive
การคิดค่าIntensive มีเงื่อนไขดังนี้
- ขึ้นกับจำนวนส่วนตรวจที่นำมาพิจารณา
- ให้นำมาคิดพร้อมกับเงินเดือนทุกสิ้นเดือน
- ให้นำยอดIntensiveของเดือนนี้ ไปจ่ายในเดือนถัดไป โดยคิดตั้งแต่วันที่ 1-31ของเดือนนั้นๆ
5.การคิดค่าเคสเวรกลางคืน
บริษัทคิดค่าเคสเวรกลางคืนสำหรับเทคนิเชี่ยนและผู้ช่วยเทคนิเชี่ยน(ที่อยู่เวรโอที)
- คิดเฉพาะ CTและMRI
- เวลาที่เริ่มคิดค่าเคส ให้เริ่มนับตั้งแต่เวลา 24.01 น – 07.00น
- ค่าเคสที่นำมาพิจารณาค่าตอบแทนจะมีเงื่อนไขขึ้นกับตำแหน่งและชนิดของเครื่องมือแพทย์ที่ปฏิบัติงาน
- พิจารณาจ่ายเฉพาะเทคนิเชี่ยนและผู้ช่วยเทคนิเชี่ยนหรือพนักงานอื่นๆที่ขึ้นเวรปฏิบัติงานเท่านั้น
- ให้นำมาคิดพร้อมกับเงินเดือนทุกสิ้นเดือน
- ให้นำยอดค่าเคสของเดือนนี้ ไปจ่ายในเดือนถัดไป โดยคิดตั้งแต่วันที่ 1-31ของเดือนนั้นๆ
- ให้นับเวลาที่ลงทะเบียนในระบบโปรแกรม(ไม่ใช่นับเอาเวลาเข้าตรวจ)
การทุจริตในการลงเวลาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเคส ถือว่ามีความผิด บริษัทจะดำเนินคดีในข้อหาปลอมแปลงและทุจริต ตลอดจนจะถูกงดการพิจารณาปรับโบนัสและขึ้นเงินเดือน หรือพิจารณาให้พ้นสภาพพนักงาน
6.การขึ้นเวรหรือลงเวร
ระเบียบการขึ้นเวรลงเวร
- ให้พนักงานรับเวรก่อนอย่างน้อย 15นาทีเพื่อมีการส่งเวรในเรื่องการตรวจหรือเรื่องอื่นๆที่ต้องปฏิยัติงานต่อเนื่อง
- พนักงานที่มารับเวรกรณีที่ยังมาไม่ถึงเนื่องด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ให้พนักงานที่จะลงเวรต้องรอจนกว่าพนักงานขึ้นเวรจะเดินทางมาถึงเท่านั้น ห้ามลงเวรดดยไม่มีพนักงานมารับเวรโดยเด็ดขาด
- ยกเลิกการพักเวร ให้พนักงานทุกท่านปฏิบัติงานตามตารางเวลาที่กำหนด
- พนักงานที่มีความจำเป็นที่ต้องออกไปทำธุระข้างนอกสถานที่ทำงานในระหว่างขณะปฏิบัติหน้าที่ ให้ขออนุญาติหัวหน้าศูนย์ฯเท่านั้นและต้องได้รับการอนุญาติเท่านั้น จึงจะสามารถไปได้