ตรวจเช็คสุขภาพด้วยเครื่องมือแพทย์
ข้อแนะนำในการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพของท่าน ท่านควรทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย แลตรวจเช็คสุขภาพอยู่เสมอ ก็จะทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ แต่ถ้าท่านมีปัญหาไม่สบายตัวหรือใจจาก อาการเจ็บป่วยที่ท่านเป็น ท่านควรรีบไปปรึกษาแพทย์ หรือตรวจเช็คสุขภาพท่านด้วยเครื่องมือแพทย์เช่น เอ็มอาร์ไอ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นต้น
รายการที่ควรตรวจสุขภาพเบื้องต้น ประจำปี
รายการที่ควรตรวจสุขภาพเบื้องต้น ประจำปี
การตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อสุขภาพคุณ ทำให้รู้ภาวะของสุขภาพตนเองว่ามีความผิดปกติหรือสมบูรณ์เพียงใด ถ้ามีสิ่งใดผิดปกติ จะได้รีบแก้ไข และป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขี้นได้ถ้าปล่อยไว้นานๆ ตลอดจนเพื่อลดความสูญเสียที่จะ เกิดขี้นเพราะถ้ามีการตรวจสุขภาพทุกปี จะลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดการสูญเสียเงินเป็น จำนวนมาก
ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ถ้าสุขภาพกายดี สุขภาพจิตจะดีตามมา ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจจะลดลงสามารถทำงานและพัฒนางานได้ดีมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แล้วการตรวจสุขภาพเป็นประจำยังช่วยให้เราสามารถป้องกัน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ทำให้เราทราบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และช่วยลดอัตราการ เสียชีวิตจากโรคบางโรค การตรวจสุขภาพมิได้ทำให้เราเสียเวลาอย่างที่เข้าใจในทางตรงข้ามกลับมาช่วยรักษาเวลา ของท่านอีกด้วย เพราะการพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกย่อมรักษาให้หายได้ง่ายกว่า เร็วกว่า
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
งดน้ำและอาหารก่อนมารับการตรวจสุขภาพ 10 ชั่วโมง
สวมเสื้อที่สะดวกต่อการเจาะเลือด
ควรพักผ่อนให
อาการที่ควรมารับการตรวจ ด้วย เอ็ม อาร์ ไอ (M.R.I)
อาการที่ควรมารับการตรวจ ด้วย เอ็ม อาร์ ไอ (M.R.I)
อาการที่ควรมารับการตรวจเอ็มอาร์ไอ
MRI/MRA/MRV Imaging
ควรตรวจเอ็มอาร์ไอในช่องท้อง
ในผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ควรมาตรวจเอ็มอาร์ไอช่องท้อง ค้นหาก้อนเนื้องอก ถุงน้ำ ฝี ตับแข็ง ไขมันในตับมาก ตับอักเสบเรื้อรัง มะเร็งตับแต่เนิ่นๆ
ควรตรวจเอ็มอาร์ไอของสมอง
เป็นโรคลมชัก
มีอาการปวดหัว แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง หรือพถติกรรมเปลี่ยนแปลง
มีอาการหมดสติบ่อยๆ ความจำเสื่อม สับสน คลื่นใส้อาเจียร
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน เสียการทรงตัว เป็นๆหายๆ
มีอาการ ปากเบี้ยว, หนังตาตก หรือ ลิ้นชาแข็ง
ควรตรวจเอ็มอาร์เอ<MRA>สมอง
มีประวัติว่าบิดาหรือมารดาเป็นเส้นเลือดในสมองโป่งพอง(Intracerebral Aneurysm)
มีประวัติว่าบิดาหรือมารดาเป็นเส้นเลือดในสมองแตก
ควรตรวจเอ็มอาร์ไอกระดูกสันหลัง(คอ/หลัง/เอว)
ในกรณีที่ท่านมีอาการเหล่านี้
ปวดคอ ชาลงแขนหรือลำตัว
แขนหรือนิ้วมือชา
แขนหรือขาอ่อนแรง หรืออ่อนแรงทั้งหมด
แขนขากระตุก
ขาไม่มีแรงทั้งสองข้าง
ปวดหลังไม่หาย
มีอาการชาตึงลงขาหรือน่อง
นิ้วขาชาไม่มีความรู้สึ
ข้อบ่งชี้ในกาตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ (M.R.I)
ข้อบ่งชี้ในกาตรวจ เอ็ม อาร์ ไอ (M.R.I)
ข้อบ่งชี้และข้อดีในการตรวจ เอ็ม.อาร์.ไอ.
การตรวจ เอ็ม.อาร์.ไอ. สามารถสร้างภาพที่แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ทำให้มีความ ถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำการตรวจได้ในทุกๆระนาบไม่ใช่ เฉพาะแนวขวางอย่าง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจ เอ็ม.อาร์.ไอ. ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก คือเนื้อเยื่อโดยเฉพาะสมองเส้นประสาทไขสันหลังและ เส้นประสาทในร่างกาย ( CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า ) ใช้ได้ดีกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การตรวจ เอ็ม.อาร์.ไอ. ยังสามารถตรวจระบบหลอดเลือดได้โดย ไม่ต้องเสี่ยงกับการฉีดสารทึบรังสี และการสวนสายยางเพื่อฉีดสีซึ่งมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นอย่างมากเพราะมีความปลอดภัยสูงและ ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังสะดวกสบายกว่าเพราะไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆทั้งก่อนและหลังการตรวจ คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีที่ตรวจเสร็จไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหมือนใน CT scan เพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
ปัจจุบันได้มีการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็ม.อาร์.ไอ.) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคของกระดูกและ ข้อ
ตรวจสุขภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ CT.Scan
ตรวจสุขภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ CT.Scan
การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพืวเตอร์ความเร็วสูง MDCT.Scan
1.ตรวจเส้นเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary CT Angiography) เพื่อวิเคราะห์ หลอดเลือดตีบจากไขมันที่ไปเกาะผนังผนังหลอดเลือดแดง (Coronary Artery Disease) การที่มีก้อนแคลเซียมไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดง (Coronary Artery Calcification)
2. ตรวจระบบเส้นเลือดแดงที่ตีบตันได้ทุกส่วนของร่างกาย ตรวจดูหลอดเลือดตีบ หลอดเลือโป่งพอง หลอดเลือดแตก หลอดเลือดผิดปกติ
3. ตรวจกระดูกส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อหาความผิดปกติเช่น กระดูกแตกหรือหัก มีก้อนเนื้องอกถุงน้ำหรือมะเร็งที่กระดูก
4. ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมอง (Brain CT) เพื่อดูความผิดปกติ เช่น เนื้องอก ฝี ถุงน้ำมะเร็ง เส้นประสาทอักเสบ เลือดออกในสมอง ติดเชื้อในสมอง เนื้อสมองตาย
5. ตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อในช่องท้อง (Abdominal CT) เช่น ตับ ไต ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน เพื่อตรวจค้นหาโรค เนื้องอก ถุงน้ำ มะเร็ง ฝี เลือดออกจากอุบัติเหตุ มีน้ำในช่องท้อง
6.ตรวจเนื้องอกหรือมะเร็งลำไส้ใน
ตรวจสุขภาพด้วยเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BMD)
ตรวจสุขภาพด้วยเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BMD)
ตรวจโรคกระดูกพรุนด้วยเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD)
เพื่อเป็นการตรวจดูสภาพของกระดูกว่าแข็งแรงหรือไม่ ถ้าถ้ากระดูกไม่แข็งแรงจะทำให้เกิดการแตกหรือหักได้ง่าย ผู้ป่วยจะได้รับความทรมานจากการเจ็บปวด
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณไขมันในร่างกายทั้งหมดว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักษา
บุคคลที่ควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกเพื่อค้นหาโรคกระดูกพรุน
+ หญิงทุกคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
+ หญิงวัยหมดประจำเดือน แม้ว่าอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน
+ หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีประวัติกระดูกหัก หรือมีภาพเอกซเรย์กระดูกผิดปกติ
+ หญิงที่ต้องรักษาโรคกระดูกพรุน การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกจะช่วยในการตัดสินใจ
+ หญิงที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตเจน มาเป็นระยะเวลานานๆ
&
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม Digital Mammogram
ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม Digital Mammogram
อาการของมะเร็งเต้านม
มะเร็งในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้ มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม มีน้ำไหลออกจากหัวนม หรือเจ็บ หัวนมถูกดึงรั้งเข้าในเต้านมผิวที่เต้านมจะมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง
กลุ่มใดบ้างที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม
ควรมาตรวจแมมโมแกรมทุก 1 ปี
• ผู้หญิงที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม (มารดา , พี่สาว , น้องสาว , บุตรสาว)
• ผู้ที่เคยรับการฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นที่บริเวณหน้าอก
• ผู้ที่รับยาฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ
• ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว 1 ข้าง
• ผู้ที่ได้รับการเจาะตรวจชิ้นเนื้อพบภาวะที่เรียกว่า Atypical ductal hyperplasia
ตรวจลิ้นหัวใจรั่ว/ตีบ/ด้วยเครื่อง Echocardiogram
ตรวจลิ้นหัวใจรั่ว/ตีบ/ด้วยเครื่อง Echocardiogram
แพทย์จะสั่งการตรวจเมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจโดยมีภาวะต่อดังต่อไปนี้
เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือมีรูรั่ว( Murmurs ) เสี่ยงที่ผิดปกติเกิดจากการไหลวนของกระแสเลือดไหลผ่านลิ้นที่ตีบหรือรูรั่วที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีรูรั่วหรือลิ้นตีบจะมีประโยชน์หลายประการดังนี้
+ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากการตีบหรือรั่วที่ไหน
+ เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียน
+ เพื่อตรวจความผิดปกติอื่นที่อาจจะพบร่วมกัน
+ เพื่อตรวจผลเสียที่เกิดจากการรั่วหรือตีบ
+ ประเมินขนาดของรูรั่วหรือตีบ
+ ประเมินการทำงานของหัวใจ
+ ประเมินการทำงานหรือรูรั่วไว้เพื่อเปรียบเทียบ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเมื่อผู้ป่วยเจ็บหน้
ตรวจวัดประสิทธิภาพของหัวใจขณะ ออกกำลังกายEST
ตรวจวัดประสิทธิภาพของหัวใจขณะ ออกกำลังกายEST
การตรวจทดสอบประสิทธิภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย(เดินสายพาน)
เพื่อมุ่งเน้นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วย ที่มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี
หลักการ คือ ให้ผู้ป่วย (หรือผู้ที่ต้องการตรวจ) ออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน) เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบเลือดจะไม่สามารถเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอจะเกิดอาการแน่นหน้าอกและมีการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็นการทดสอบนี้ยังช่วยบอกแพทย์ด้วยว่าผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และใช้ในการติดตามผู้ป่วยภายหลังได้รับการรักษาไม่ว่าจะด้วยยาหรือการขยายหลอดเลือดหรือการผ่าตัด
่
ผู้ที่ควรตรวจทดสอบประสิทธิภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย(เดินสายพาน)
ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเหล่านี้
ตรวจการอุดตันของหลอดเลือด ด้วยABI
ตรวจการอุดตันของหลอดเลือด ด้วยABI
การตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดง
Ankle Brachial Index : ABI
เป็นการตรวจหลอดเลือดแดงส่วนปลายของขา ค่าที่ได้มีความแม่นยำสูง มีความไว 90% ความ จำเพาะ 98%โดยเครื่องจะวัดความดันที่หลอดเลือดแขนทั้งสองข้างก่อน จากนั้นเครื่องจะวัดความดันหลอดเลือดที่ข้อเท้าทั้งสองข้าง ค่าABIยิ่งต่ำบ่งบอกว่าหลอดเลือดตีบมากมีการศึก ษาที่บ่งชี้ว่าค่า ABI ทำนายอัตราการเสียชีวิตได้ การศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่มีอายุเฉลี่ย 66 ปี ที่มีค่า ABI ผิด ปกติ จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือด และหัวใจมากกว่าผู้ที่มีค่า ABIปกติ 6.3 เท่า และมีโอ กาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 4.8 เท่า ดังนั้นการตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดแดง โดยการใช้เครื่องวัด ABI (Ankle-Brachail Index) จึงช่วยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด หัวใจอัมพาต อัมพฤกษ์ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ ก็จะพิจารณาให้ยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง
เราควรจะตรวจในรายที่มีอาการและอาการแสดงของการอุดตันของหลอดเลือดแดง เช่น มีอาการปวดบริเวณขาโดยเฉพาะบริเวณน่อง ลักษณะเหมือนตะคริว เป็นมากขึ้นเวลาเดิน ดีขึ้นถ้านั่งพัก หรือตรวจในคนที่มีความเสี
รักษานิ่วโดยการสลายนิ่ว (ไม่ต้องผ่าตัด)
รักษานิ่วโดยการสลายนิ่ว (ไม่ต้องผ่าตัด)
เครื่องสลายนิ่ว (ESWL)
เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษ ที่มีการนำคลื่นเสียงความถี่สูงกระแทกก้อนนิ่วให้แตกเป็นผงหรือเม็ดเล็กๆ แล้วขับออกจากร่างกายโดยระบบทางเดินของปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดน้อยกว่าการผ่าตัด และไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน มิติใหม่แห่งการรักษากับวิวัฒนาการใหม่ในการสลายนิ่ว เป็นการรักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ นิ่วสามารถพบไดทุกส่วนของระบบทางเดินปัสสาวะ อาการโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับตำ แหน่งการอุดตันทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อ อาการที่พบคือ อาการปวด เช่น ปวดท้องน้อย ปวดชายโครง มีไข้ ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย การรักษาขึ้นอยู๋กับขนาดตำแหน่งและการอุดตันทางเดินปัสสาวะ
ข้อบ่งชี้ในการสลายนิ่ว
นิ่วขนาด 4 มิลลิเมตรที่ไตและหลอดไต
ขนาดของนิ่วต้องไม่โตเกินไป นิ่วควรมีขนาดไม่เกิน 2.5 เซ็นติเมตร
นิ่วประเภทที่เหมาะกับการรักษาโดยการสลายนิ่ว คือนิ่วในไตที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 เซ็นติเมตร ยกเว้นตำแหนขั้วล่างของไต ซึ่งไม่ค