Mammo

เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

Dr Godfrey Hounsfeile แห่งหน่วยวิจัยบริษัท B.M.I. ประเทศอังกฤษ ได้เริ่มต้นประดิษฐ์ Computerized Tomography ในปี 1967ประสบความสำเร็จhhในปี 1972 CTเครื่องแรกได้นำมาใช้กับโรงพยาบาล Athinson Morley's ณ กรุงลอนดอน C.T. เครื่องแรกนี้ ใช้ได้เฉพาะตรวจสมองในงาน Neuroradiology เท่านั้น และได้เรียกตามชื่อผู้ผลิต ว่า E.M.I. scanner ต่อมา Dr.Robert s Ledley ได้เป็นคนแรกที่ทำ Whole body CT ได้ สำเร็จเป็นเครื่องแรก และได้ นำไปติดตั้งที่ Georye TownUniversity Medical Center U.S.A. ในเดือน กุมภาพันธ์ 1974 ในปัจจุบันนี้เทคโนโลย ีได้ก้าวหน้าไปมาก เช่น ทางด้านการสื่อสาร แต่ก่อนนี้คงไม่เชื่อว่าจะสามารถมีโทรศัพท์พกติดตัวไปไหนมาไหนได้ สะดวกเช่นทุกวันนี้ แม้ขณะที่ชุมนุมประท้วงอยู่กลางถนนก็ยังสามารถพูดคุยกับคนที่บ้านได้ ทางด้านการแพทย์ก็เช่น กันถ้าเป็นสมัยก่อนมีใครมาบอกว่า แพทย์สามารถจะมองเห็นหรือส่งคลื่นเข้าไปตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้ คนคง หัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว และนอกจากแพทย์จะสามารถใช้เครื่องเอกซเรย์ ถ่ายดูอวัยวะภายในร่างกายอย่างธรรมดายังได้ประยุกต์เอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาต่อกับเครื่องเอกซเรย์เป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการตรวจให้มากยิ่งขึ้น เรียกว่าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าเครื่องนี้กัน


เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร

ความจริงเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก็คือ เครื่องเอกซเรย์ธรรมดา เพียงแต่ว่าแทนที่แสงเอกซเรย์จะไปลงที่ แผ่นฟิล์มโดยตรงก็กลับไปลงที่ตัวรับสัญญาณหรือคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็จะไปแปลงเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง แล้วค่อย เอามาถ่ายบนฟิล์มเครื่องนี้ใช้รังสีเอกซ์เหมือนเอกซเรย์ธรรมดา แต่เพราะมีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำให้สามารถแปล สัญญาณได้ละเอียดกว่า เช่นถ้าเราถ่ายศีรษะ เอกซเรย์ธรรมดาจะถ่ายไม่เห็นสมอง เพราะว่ามีกะโหลกศีรษะบังอยู่ ในฟิล์มเราจะเห็นแต่กระดูกที่เป็น กระดูกศีรษะ แต่เอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสามารถถ่ายให้เห็นสมองข้างในได้

ประโยชน์ของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ความจริงเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีประโยชน์ค่อนข้างมาก สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวางตั้งแต่สมองไปจนถึง ส่วนเท้าเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น แพทย์เกิดข้อสงสัยว่าจะมีความผิดปกติในเนื้อสมอง ซึ่งอาจจะเป็นการอักเสบ การติดเชื้อ หรือเนื้องอกในสมอง ก็ใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตรวจ เพราะเครื่องเอกซเรย์แบบ ธรรมดาเข้าไปไม่ถึงแม้ แต่เครื่องมือการตรวจอื่นๆที่ปราศจากรังสี เช่น คลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ก็เข้าไปไม่ถึง เพราะผ่านกระดูก เข้าไปไม่ได้ ผู้ป่วยที่เอกซเรย์ปอดแล้วเห็นลักษณะผิดปกติเป็นก้อน แล้วอยากรู้ว่าก้อนเนื้อนี้เป็นก้อนเนื้อชนิดไม่ร้าย แรงหรืออาจเป็นมะเร็ง หรือว่าเกี่ยวข้องไปติดอยู่กับอวัยวะส่วนอื่นในทรวงอกหรือเปล่า จะผ่าตัดได้หรือไม่ ข้อสงสัย เหล่านี้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถบอกได้ หรือถ้าเป็นในช่องท้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก็สามารถบอกได้ว่ามีก้อน ในตับหรือเปล่า ม้ามเป็นอย่างไร คือเห็นทุกส่วนที่อยู่ภายในช่องท้อง


เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ต้องทำอะไรบ้าง

  1. ส่วนใหญ่จะให้งดอาหารก่อนเพราะว่าถ้าจำเป็นจะต้องฉีดสารทึบแสง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ฉีดสี” บางคน อาจมีอาการแพ้ได้ จึงมักจะให้งดอาหารก่อนประมาณ 6 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง เผื่อผู้ป่วยคลื่นไส้จากผล ข้างเคียงของสารทึบแสงเกิดอาเจียนออกมาจะได้ไม่สำลักอาหาร ถ้าสำลักเข้าไปในหลอดลมและปอดก็มีอันตรายได้
  2. นอนบนเตียง แล้วเคลื่อนผ่านเข้าเครื่อง ถ่ายส่วนที่ต้องการภาพก็จะขึ้นปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ เมื่อตรวจ ดูได้ภาพที่ต้องการครบแล้วก็ลงจากเตียง ไม่น่ากลัวแต่อย่างใด เพียงแต่ขึ้นไปนอนเฉยๆแล้วคอยฟังเสียงเครื่องเท่า นั้นเอง

ข้อดีของการตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

  1. ได้ภาพที่ละเอียดชัดเจน แยกความทึบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายได้ละเอียดมาก เช่น แยกเนื้อเยื่อ สมองออกเป็นส่วน แยก ความทึบของก้อนต่าง ๆ ว่าเป็นก้อน(solid) ถุงน้ำ หรือมีหินปูนอยู่หรือไม่ซึ่งเครื่องเอกซเรย์ ธรรมดาไม่สามารถทำได้นอกจากนี้ยังสามารถบอกขนาด ตำแหน่งของส่วนที่ผิดปกติตลอดจนการกระจายของโรคได้
  2. สามารถแยกอวัยวะต่าง ๆแต่ละส่วนไม่ให้มีการซ้อนกัน เช่น สามารถเห็นเนื้อสมอง และโพรงสมองแยกจากกัน
  3. นอกจากใช้ในด้านการวินิจฉัยโรคแล้วยังช่วยในด้านการรักษาผู้ป่วยด้วย เช่น ช่วยในการเจาะถุงน้ำ หนอง ฝี หรือผ่าตัดสมอง บางส่วน
  4. ช่วยคำนวณวางแผนการรักษาโดยรังสีรักษาในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกโดยสามารถคำนวณภาพของก้อน เนื้องอกจริง ๆ
  5. ปัจจุบันมีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ สามารถศึกษาการไหลเวียนของกระแสเลือด และการไหล เวียนของน้ำสมอง ไขสันหลังได้ โดยการฉีดสารทึบแสง(dynamic scan) ร่วมด้วย
  6. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการลดความเจ็บปวดและอันตรายจากการตรวจพิเศษทางรังสีแบบ อื่นๆ เช่นการตรวจ ระบบหลอดเลือด (angiography)
  7. ช่วยลดเวลาในการตรวจวินิจฉัย ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย และโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องรุ่นใหม่ ๆ ยิ่งให้ประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านเทคนิคการถ่ายภาพ และการแปลผลได้สูงขึ้น
  8. ทางด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จะมีราคาแพงแต่เป็นที่แน่ชัดว่า การตรวจด้วยวิธีนี้จะเป็นการช่วย ลดค่าใช้จ่ายในด้านการตรวจอื่น ๆ

 

อวัยวะที่สามารถตรวจได้

 

  1. บริเวณส่วนที่เป็นศีรษะและคอ เช่น สมอง ( Brain ) คอ ( Neck ) โพรงอากาศรอบจมูก(Paranasal sinus ) กระบอกตา( Orbit ) โพรงอากาศช่องจมูก ( Nasop harynx ) ช่อง ( Larynx ) เป็นต้น
  2. บริเวณช่องท้อง เช่น ช่องท้องส่วนบน ( Upper Abdomen ) ช่องท้องส่วนล่าง ( Lower Abdomen ) บริเวณช่องท้องทั้งหมด ( Whole Abdomen ) เป็นต้น
  3. บริเวณช่องอก เช่น ปอด ( Chest ) เป็นต้น
  4. ส่วนที่เป็นกระดูกสันหลังเช่น กระดูกคอ ( C-Spine ) กระดูกสันหลังช่วงอก ( T-Spine ) กระดูกสันหลังช่วงเอว ( L-Spine ) เป็นต้น
  5. กล้ามเนื้อ และกระดูก ส่วนอื่น ๆ ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ตรวจโดยวิธีการนี้
  6. หลอดเลือดแดง ที่สมอง คอ ช่วงอก แขน ขา ไต และหลอดเลือดหัวใจ
  7. ระบบลำไส้ ตรวจค้นหาเนื้องอกหรือมะเร็งระยะต้นๆ ก่อนที่จะกลายป็นเนื้อร้าย

 
 
   รูปภาพเพิ่มเติม