หลอดเลือดตีบ
โรคหลอดเลือดตีบ
Atherosclerosis
โรคหลอดเลือดตีบในที่นี้หมายถึงหลอดเลือดแดงขนาดกลางหรือเส้นใหญ่มีการสะสมของไขมันและแคลเซี่ยมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดแดง เมื่อสะสมมีขนาดใหญ่พอ ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลง
สาเหตุ
ยังไม่ทราบทั้งหมดแต่ก็มีข้อสันนิฐานของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ ดังต่อไปนี้ คือการที่ผนังหลอดเลือดแดง(intima)ได้รับอันตรายซึ่งอาจจะเกิดจากแรงดันของความดันโลหิต การอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อบางชนิดเช่น (Chlamydia pneumoniae or Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirusสารเคมีในร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol น้ำตาล เป็นต้นเมื่อผนังหลอดเลือดแดงได้รับอันตราย ไม่ว่าจะเกิดจากไขมันหรือการติดเชื้อ ก็จะมีเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า Monocyte หรือ Macrophageมาจัดการกับสิ่งแปลกปลอมนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นคราบหรือที่เรียกว่า Plaque ซึ่งจะมีขนาดใหญ่จนบางครั้งอาจจะอุดทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลงแต่ก็มีบางภาวะโดยเฉพาะคราบที่เกิดใหม่ซึ่งส่วนประกอบของคราบจะเป็นไขมันโดยที่มีผังผืด Fibrous-capsuleไม่แข็งแรงเมื่อเจอภาวะที่แรงดันเลือดสูงทำให้คราบนั้นฉีกขาด ร่างกายก็จะมีเกร็ดเลือด เม็ดเลือดขาวมายังที่เกิดการฉีกขาดทำให้เกิดลิ่มเลือด Thrombus ซึ่งอาจจะอุดตันเส้นเลือดดังกล่าวหรืออาจจะหลุดลอยไปอุดเส้นเลือดส่วนปลายทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆได้แก่ปัจจัยเสี่ยงซี่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ได้แก่
-
การสูบบุหรี่
- ไขมันในเลือดสูง
- ความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคอ้วนลงพุ่ง
- ขาดการออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
- เพศ
- อายุ
- ประวัติการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดตีบก่อนวัย
อาการของโรคหลอดเลือดตีบ
โรคนี้จะดำเนินไปช้าๆหากยังตีบไม่มากจะไม่มีอาการ แต่หากตีบมากจะเกิดอาการของอวัยวะที่ขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญได้แก่ หัวใจ สมอง เส้นเลือดแดงตีบที่เท้า
โรคหัวใจ
ถ้าอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์จะพบว่าผู้มีชื่อเสียงดาราเสียชีวิตจากโรคหัวใจไม่เว้นแต่ละวันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดเนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ทำ ให้โรคนี้พบมากขึ้น โรคหัวใจเป็นโรคใกล้ตัวคุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เสี่ยงและเป็นโรคหัวใจหากคุณตั้งอยู่บนความประมาทขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมกันทำบุญโดยคุณอ่านบทความนี้จนจบ โปรดแนะนำญาติ คนใกล้ชิดหรือคนรู้จักให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยงวิธีป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากท่านผู้อ่านสามารถให้ความรู้และป้องกันการเสียชีวิตได้หนึ่งรายจะทำญาติให้ผู้ป่วยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาที่จะกล่าวจะแบ่งเป็นส่วนๆ ดังนี้ โรคหัวใจขาดเลือด เฉียบพลันเป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอาจจะเกิดหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคสมองขาดเลือดหรือที่นิยมเรียกกันว่า Stroke ในทางการแพทย์มักจะเรียกกันว่า CVD"Cerobrovascular disease" คนไทยเรียกโรคอัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดมีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้เรียกโรคอัมพฤกษ์ ซึ่งจะต้องมี 3 ภาวะกล่าวคือ
- ภาวะนี้จะต้องเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
- จากเหตุในข้อ 1 มีผลทำให้สมองบางส่วนสูญเสียหน้าที่ เช่นพูดไม่ได้ อ่อนแรง
- ระยะเวลาที่เป็นต้องเกิน24 ชั่วโมง
โรคอัมพาตเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะต้องทราบเกี่ยวกับโรคนี้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้หลายท่านคงไม่ทราบว่าตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่ ตลอดจนคนรู้จักหรือญาติมิตรมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ หากท่านทราบและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้ ดังนั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงและยังไม่พยายามที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้ทราบถึงอันตรายและผลที่จะเกิดหากท่าเป็นโรคอัมพาต หลายท่านยังมีความเข้าใจผิดว่าโรคอัมพาตรักษาไม่ได้ อัมพาตป้องกันไม่ได้ อัมพาตเป็นเฉพาะผู้สูงอายุ ทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด อัมพาตสามารถป้องกันได้ อัมพาตสามารถเป็นได้กับผู้ป่วยทุกอายุ และสามารถรักษาได้การรักษาโรคอัมพาตให้ได้ผลผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ท่านผู้อ่านต้องรู้ถึงสัญญาณอันตรายบทความนี้จะกล่าวถึง
โรคหลอดเลือดแดงตีบที่เท้า
ท่านเคยปวดขาหรือขาไม่มีแรงเมื่อเดินบ้างหรือไม่เวลาที่ท่านเดินเร็วๆ เดินขึ้นบันไดหรือแม้ขณะเดินเล่นแล้วเกิดอาการปวดเมื่อยที่น่องและสะโพก เมื่อพักสักครู่แล้วหายปวด อาการอย่างนี้เป็นตลอด และจะปวดเมื่อยเดินด้วยระยะทางเท่าๆเดิม อาการเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าท่านอาจจะมีอาการของเส้นเลือดแดงที่ขาตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาน้อยลงจึงเกิดตะคริวหรือปวดเมื่อยเวลาเดิน ไม่มีการรักษาใดที่จะทำให้โรคนี้หายเป็นปลิดทิ้งทันที
สัญญาณเตือน
หากเส้นเลือดตีบไม่มาก หรืออาจจะมีการไหลเวียนของเลือดจากเส้นเลือดใกล้เคียง ทำให้ไม่มีอาการอะไรเลย ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นเลือดไปเลี้ยวอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการปวดน่อง ตะคริว ชาเท้า อ่อนแรงโดยเฉพาะ เมื่อเวลาเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆ หายๆ ทางการแพทย์เรียก I ntermittent Claudication เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นจะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก
การไหลเวียนของเลือด
เลือดจะเริ่มตนจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายเลือดดำหรือเลือดที่ได้ไปเลี้ยงร่างกายจะกลับไปทางหลอดเลือดดำและกลับเข้าสู่หัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบ ปัจจัยต่างๆได้แก่
- กรรมพันธ์
- วัยสูงอายุ
- หลอดเลือดแดงแข็ง
- การสูบบุหรี่
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคไขมันในเลือดสูง
- คนอ้วน
- การขาดการออกกำลังกาย
- เพศ
เมื่อไปพบแพทย์หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม ประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์จะถามถึงโรคประจำประวัติครอบครัว โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ยาที่ผู้ป่วยรับประทาน การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่
อาการทั่วๆไป
อาการของการเจ็บขา
สิ่งที่สังเกตเห็นเมื่อเส้นเลือดแดงตีบ
ขนที่เท้าหรือขาจะน้อยสีผิวของขาจะคล้ำขึ้นบางรายอาจจะซีดคลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูงแผลเรื้อรังที่เท้าเล็บหนาตัว หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว
การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) คือการวัดความดันโลหิตที่แขนทั้งสองข้างและขาทั้งสองข้าง และนำเปรียบเทียบกัน ปกติความดันที่ขาจะสูงกว่าที่แขนการใช้หูฟังเสียงที่หลอดเลือดแดงที่ขา หากได้ยินเสียงแสดงว่ามีการตีบของหลอดเลือด การตรวจด้วยเครื่องดอปเปลอร์ หากการตรวจเบื้องตนพบว่าหลอดเลือดแดงตีบค่อนข้างมากและจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข ท่านอาจจะต้องได้รับการฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดเพิ่มเติม โดยอาศัยพิธีพิเศษร่วมกับการถ่ายภาพรังสีต่อเนื่อง จะช่วยให้ตรวจการไหลเวียนของโลหิตและตำแหน่งของการตีบแคบหรืออุกตันได้การฉีดสี Arteriogram โดยการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อดูตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบ Magnetic resonance angiography (MRA). โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า CT Angiography (CTA). การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสี จะทำให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การรักษา
การที่เกิดหลอดเลือดแดงตีบไม่ใช่เกิดจากการเสื่อมจากอายุ แต่เป็นการเกิดหลอดเลือดตีบจาก โรค atherosclerosis หากเกิดหลอดเลือดแดงที่ขาตีบจะต้องคำนึงถึงว่าอาจจะมีหลอดเลือดที่อื่นตีบ เช่นหลอดเลือดหัวใจเป็นต้น การรักษาทั่วๆไป การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุดกระ ตุ้นให้เดินจนกระทั่งเริ่มปวดแล้วหยุดเมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่การเดินจะทำให้หลอดเลือดที่ขามีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลง
- หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
- สวมรองเท้าที่คับพอดี
- หลีกเลีบงอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป หรืออาหารมันมากเกินไป
- หยุดสูบบุหรี่
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีมาก
- การดูแลเท้า
- การออกกำลังกาย
การรักษาด้วยยา
การใช้ยา
- การควบคุมระดับไขมันในเลือด
- การให้ยาขยายหลอดเลือด
- การควบคุมความดันโลหิต
- การควบคุมโรคเบาหวาน
- การให้ยา Beta-block ,estrogen อาจจะทำให้อาการเส้นเลือดแดงตีบเป็นมากขึ้น
- หากการรักษาด้วยยาแล้วยังมีอาการปวดต้องรักษาด้วยวิธีอื่น
- การทำ Balloon angioplasty แพทย์จะสอดสายเข้าไปหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แล้วเอาบอลลูนดันส่วนที่ตีบให้ขยายพร้อมทั้งใส่ขดลวด
- การผ่าตัด Bypass โดยการใช้เส้นเลือดเทียมต่อข้ามส่วนที่ตัน
การป้องกัน
ป้องกันและรักษาโรคหัวใจ
- รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่ รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
- ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ
- ติดต่อกับแพทย์ประจำตัวของท่านหากมีอาการดังต่อไปนี้ วิงเวียนศรีษะ หน้ามือจะเป็นลม หรือเกิดอาการอ่อนแรง
- หายใจไม่ทั่วท้อง หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอกมีไข้