กระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูก ไม่สามารถจะรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการกระดูก หักตามมา (Decreased bone mass, defective bone microarchitecture นอกจากจะเรียกโรคกระดูกพรุน อาจเรียก โรคกระดูกบางโรคกระดูกผุ ก็ได้
ขบวนการเกิดกระดูกในร่างกาย
กระดูกในร่างกายนั้นเมื่อมองจากภายนอกจะเห็นเป็นท่อนแข็งๆคล้ายๆกันแต่เมื่อมองละเอียดลงไปจะสามารถจำแนกลักษณะของกระดูกออกได้เป็น 2 ชนิดคือ Cortical bone และ Cancellous bone
- Cortical bone คือกระดูกส่วนเปลือกนอก ซึ่งมีลักษณะแข็งและจับตัวกันอย่างหนาแน่นซึ่งเป็นส่วนที่เห็นด้านนอกของโครงกระดูก
- Cancellous bone จะเป็นส่วนที่เป็นแผ่นเยื่อใยที่สอดไขว่สลับไปมาอยู่ในช่องโพรงกระดูกภายในกระดูกแต่ละท่อนของร่างกาย จะประกอบด้วยกระดูก ทั้งสองแบบ ซึ่งอยู่ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ตำแหน่งของกระดูกนั้นๆ เช่นตรงส่วนกลางของกระดูกแขนขา (long bone) จะประกอบด้วย cortical bone เป็นส่วนใหญ่ ที่บริเวณส่วนปลายจึงจะมี cancellous bone ในปริมาณ ที่มากขึ้นส่วนกระดูกสันหลังจะประกอบด้วย cancellous bone เป็นส่วนใหญ่ซึ่งกระดูกทั้งสองถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการรับแรงกดแรงกระแทกในลักษณะต่างกันทั้งสองแบบมีการตอบสนองต่อ metabolism ของแคลเซี่ยม แตกต่างกัน
โรคกระดูกพรุน Osteoporosis นี้พบมากในผู้สูงอายุโดยประมาณ 60 ปีขึ้นไปโดยจะพบปัญหาในหญิงมากกว่าชายเพราะในหญิงจะมีการลงลงของเนื้อกระ ดูกเป็นอย่างมากในช่วง 5 ปี หลังวัยหมดประจำเดือน สตรีวัยหมดประจำเดือนในอเมริกา ประมาณ 1/3-1/2 ของสตรีกลุ่มนี้จะเป็นโรคกระดูกพรุนและเมื่อ อายุสูงขึ้นโอกาสกระดูกหักก็จะสูงเพิ่มตามไปด้วย โดยจะเป็นการทรุดหักของ กระดูกสันหลัง การหักของกระดูกสะโพก และสุดท้ายคือกระดูกต้นขาหัก จะเห็นว่าปัญหากระดูกพรุนนี้ก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตคุณภาพของชีวิตและทรัพย์ สินอย่างมาก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้โรคกระดูกพรุนพบมากในสตรีผิวขาวโดยเฉพาะพวกที่อยู่ใกล้ขั้ว โลก รองลงมา เป็นชาวผิวเหลืองในเอเซียและพบน้อยลงในชาวผิวดำ สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถกล่าวรวมๆของปัญหาที่มีผลทำให้การสะสมของเนื้อกระดูกได้ไม่ดี และปัจจัยที่ทำให้มีการสูญเสียมากกว่าปกติ
- พันธุ์กรรม จากเชื้อชาติ ผิวขาว > เอเซีย > ผิวดำ เพศ หญิง มากกว่า ชาย
- บริโภคแคลเซี่ยมต่ำ
- คื่มอัลกอฮอล์มาก
- ดื่มกาแฟมาก
- บริโภจเกลือมาก
- บริโภคโปรตีนจากสัตว์มาก
- ชีวิตความเป็นอยู่ สูบบุหรี่มาก
- กิจวัตรการออกกำลังกายน้อย
- โรคที่มีผลต่อการเสียเนื้อกระดูก รังไข่ฝ่อ (ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน)
- การตัดมดลูก
- ต่อมทัยรอยด์ทำงานมากเกินไป
- ต่อมพาราทัยรอยด์ทำงานมากเกินไป
- ไตวายเรื้อรัง
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ภาวะวัยหลังหมดประจำเดือน
- ยาที่มีผลต่อการสูญเสียเนื้อกระดูก ยาทดแทนทัยรอยด์
- ยากลุ่มสเตียรอยด์
- ยากันชัก
- ยาขับปัสสาวะ ชนิด "loop"
- ยาลดกรดที่มีฤทธิ์จับกับฟอสเฟต
- ยาเตตร้าซันคลิน
- ยารักษาวัณโรค ไอโซไนเอซิค
การป้องกันและการรักษา
การที่จะมีกระดูกที่แข็งแรงสมบูรณ์นั้น ส่วนการสร้างกระดูกและส่วนการสลายกระดูกต้องสมดุลย์กันในกรณีที่มีภาวะกระดูกพรุนนั้นจะพบว่ามีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก ดังนั้นหลักการดูแลก็คือให้มีการสร้างกระดูกมากขึ้นหรือลดการสลายของกระดูกให้ลดลง
ข้อแนะนำสำหรับสตรี
- การได้รับแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอตลอดอายุขัย ตั้งแต่วันเด็กไปจนถึงวัยชราจะช่วยไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
- มีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหาร โปรตีนเพื่อเป็นแกรของกระดูก/ แคลเซี่ยมและฟอสเฟตมาจับที่กระดูกเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกระดูก
- ออกกำลังกายอยู่อย่างสมำเสมอ อย่าเอาแต่นั่งๆ นอนๆ เพราะจะมีการสลายของกระดูกมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- ดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียของกระดูก
- ได้มีการประเมินสภาวะของกระดูกว่ามีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด ในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือน
- ในหญิงที่มีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่า 1 SD ควรได้รับฮอร์โมนทดแทน ดูข้อห้ามก่อน
- ถ้ามีข้อตรงกับการห้ามใช้ฮอร์โมนช่วย ให้ปรีกษาแพทย์เพื่อหาวิธีอื่นที่เหมาะสมแทน
- ให้มีความระมัดระวังในการเคลื่อนไหว และดูแลสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย เพื่อลดการลื่นหกล้ม