Mammo

หลอดเลือดสมองแตก

เส้นเลือดในสมองแตก

คืออาการที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาดจึงทำให้เลือดออกในสมองซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้ซึ่งสาเหตุเกิดจากความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นความผิดปกติของเส้นเลือด ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังไตและอวัยวะทั่วร่างกายซึ่งผนังหลอดเลือดขยายตัวหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดมีขนาดแคบลงจึงทำให้ปริมาณเลือดที่ลำเลียงไปที่ไตมีน้อยลงและทำให้ส่วนประกอบที่อยู่ในไตที่เรียกว่า เร็นนิน เกิดการเพิ่มความดันในเลือดให้สูงขึ้น ทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า โรคความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดไต

โรคนี้ผู้หญิง อายุตั้งแต่ 20-30ปี ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคนี้ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกคุณช่วงนี้

  • มีอาการปวดหัวในตอนเช้าบ้างหรือไม่
  • เคยรู้สึกว่าแขนไม่มีแรงบ้างหรือไม่
  • เคยรู้สึกตาพร่ามัวบ้างหรือไม่

อาการของเส้นเลือดในสมองแตกจากความดันสูงมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะแต่บางรายอาจไม่มีก็ได้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจหมดสติหรือระดับความรู้สึกตัว แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง พูดไม่ชัดหรือถ้าเกิดในสมองเด่นทำให้พูดไม่ได้อาการและอาการแสดงจะขึ้นกับขนาดของก้อนเลือดและอาการจะเป็นขึ้นอย่างรวดเร็วเฉียบพลันผู้ป่วยบางรายอาจมีเส้นเลือดแตกก่อนแล้วล้มลงทำให้เข้าใจผิดว่าเลือดออกจากศีรษะกระแทกพื้น

ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณที่เรียกว่า  basal ganglia ซึ่งผู้ป่วยจะมีแขนขาอ่อนแรงเกิดจากเส้นเลือดฝอยซึ่งเป็นแขนงของเส้นเลือดแดง middle cerebral artery แตกถ้าแตกที่ตำแหน่งthalamus เลือดมักแตกเข้าโพรงสมองหรือ ventricles ทำให้เกิดการอุดตันการไหลเวียนของน้ำในโพรงสมองมีน้ำคั่งในสมองทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูงอาจต้องรีบเจาะระบายน้ำออก ถ้าเส้นเลือดแตกตรงสมองส่วนท้ายหรือ Cerebellum ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินเซ อาเจียนแล้วหมดสติอย่างรวดเร็ว เนื่องจากก้อนเลือดไปกดก้านสมองทำให้ซึม และไม่รู้สึกตัวและหยุดหายใจได้เร็ว การผ่าตัดอย่างทันท่วงทีจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นได้ ถ้าเลือดออกที่ก้านสมองซึ่งเรามักพบตรงตำแหน่งที่เรียกว่าPons ผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกตัวทันที ถ้าก้อนมีขนาดเล็กก็อาจรู้สึกตัวและความพิการน้อย แต่ถ้าก้อนเลือดใหญ่ ผู้ป่วยมักจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เมื่อรอดชีวิตจะรู้สึกตัวแต่แขนขาอ่อนแรงที่เราเรียกว่า locked-in syndrome คือโต้ตอบได้ โดยการใช้ศีรษะแต่แขนขา อ่อนแรงภาวะเส้นเลือดแตกในสมองจากความดันสูง เราวินิจฉัยได้จากประวัติอาการแสดงการตรวจร่างกายการวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูตำแหน่งและขนาดของก้อนเลือด


การรักษา

  • ถ้าก้อนเลือดมีขนาดไม่ใหญ่แพทย์มักรักษาโดยเฝ้าดูอาการ
  • ควบคุมความดันและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆไม่ให้เลือดออกซ้ำหรือสมองบวม
  • ถ้าก้อนเลือดมีขนากใหญ่หรือมีอาการความดันในกะโหลกศีรษะสูงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด
  • การผ่าตัดส่วนมากเป็นการช่วยเหลือชีวิตหรือลดความดันในกะโหลกศีรษะ ไม่ว่ารักษาโดยการผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด
  • ผู้ป่วยมักมีความพิการหลงเหลืออยู่มากหรือน้อยขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของก้อนเลือด วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันโดยไม่ให้ความดันสูงและลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น เบาหวาน ไขมันสูง การดื่มเหล้า 

 

   รูปภาพเพิ่มเติม