โรคไต
โรคไต
ไต มี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลืองยาวประมาณ 12 ซม.ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” ( nephron ) หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุไข
ไตทำหน้าที่อะไร ?
- กำจัดของเสีย ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินินเมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะย่อยสลายนำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ ขับยาและสารแปลกปลอมอื่น ๆ
- ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เช่น น้ำ ฟอสเฟด โปรตีน
- รักษาสมดุลน้ำของร่างกายถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกายไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น
- รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกายไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัดแต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป
- รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกายร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ จะไม่มีกรดคั่ง ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด
- ควบคุมความดันโลหิตความดันโลหิตสูง เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ และเกลือรวมถึงสารบางชนิดผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูงเพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูงถ้าความดันโลหิตสูงมาก ทำให้หัวใจทำงานหนักหรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตก เป็นอัมพฤกษ์ และอัมพาตได้
- สร้างฮอร์โมน ไตปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิดถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป
อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต
- หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
- ปัสสาวะผิดปกติเช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ / น้ำล้างเนื้อ
- การถ่ายปัสสาวะผิดปกติเช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
- ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
- ความดันโลหิตสูง
- ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส อาเจียน
- เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
- ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม
ไตเริ่มเสื่อม
- อาการบว,
- ซีด
- อ่อนเพลีย
- เหนื่อยง่าย
- ความดันโลหิตสูง
ไตวายเรื้อรัง
- ซีดมากขึ้น
- เบื่ออาหาร
- คันตามตัว
อาการสังเกตเมื่อไตเสื่อม
- อาการบวมที่หน้า และหนังตา
- อาการบวมที่ขา
- อาการบวมที่เท้า
- ปัสสาวะเป็นเลือด
ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง
- อาหารโคเลสเตอรอลสูง อาหารทะเล เนื้อ หมู ติดมัน กุ้ง หอย ทุเรียนเนย
- อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง อาหารจำพวกแป้ง ของหวาน ผลไม้รสหวาน เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์