• ศูนย์ตรวจมวลกระดูกโรงพยาบาลระยอง

ศูนย์ตรวจมวลกระดูกโรงพยาบาลระยอง


การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก 


เป็นเทคนิกการตรวจทางรังสีวิทยาที่มีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ในระยะแรกเริ่มปัจจุบันทางการแพทย์นิยมใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนที่แพร่หลายมากชนิดหนึ่ง การตรวจด้วยเครื่อง BONE Densitometry เป็นวิธีการตรวจที่จะได้ค่าความหนาแน่นของกระดูก ที่มาตรา ฐาน ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดสามารถวิเคราห์โรคกระดูกพรุนได้แอย่างม่นยำ โดยการตรวจผู้ป่วยไม่เจ็บเพียงแต่นอนนิ่งประมาณ 5-10 นาที 

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่้เป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับที่ 2 รองจากโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด ข้อมูลทั่วโลกระบุว่า ประชากร 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 8 ของผู้ชาย ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน(Osteoporotic fracture) ยิ่งไปกว่านั้นมีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยที่มีการหักของกระดูกสะโพก(Hip fracture) จะเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนในปีค.ศ. 1990 เป็น 6.3 ล้านคนในปีค.ศ. 2050 เนื่องจากประชากรโลกมีอายุยืนมากขึ้น

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อกระดูก โดยมวลและความหนาแน่นของกระดูกลดลงซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการหักของกระดูก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง ข้อมือ สะโพก กระดูกเชิงกราน และต้นแขน มักพบในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือนผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนจนกระทั่งกระดูกหัก จากรายงานการศึกษาขององค์การอนามัยโลก พบว่าการตรวจความหนาแน่นของกระดูกตั้งแต่เนิ่นๆจะสามารถลดผลกระทบจากโรคกระดูกพรุนได้

โรคกระดูกพรุน หรือ กระดูกโปร่งบาง คือ ภาวะที่ปริมาณเนื้อกระดูกลดลง และ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูกทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 2 รองจากโรคข้อเสื่อม โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30-40 ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้เพียงร้อยละ 10 ในผู้หญิงไทยอายุ 55 ปีเป็นโรคนี้ร้อยละ 20 แต่ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 60 จะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนแอบแฝงอยู่ 

การสูญเสียมวลกระดูกเป็นการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิมได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันและรักษาตั้งแต่เริ่มแรกก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก จึงจำเป็นต้องค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุน ก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนที่แม่นยำ มาตราฐาน รวดเร็ว ไม่เจ็บ และสะดวกที่สุดก็คือ การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometry(BMD)


ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก


  • เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการเปรียบเทียบครั้งต่อไป
  • ผู้ที่มีปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนสูง 
  • เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคหรือประเมินการสูญเสียเนื้อกระดูก ว่าอยู่ในกลุ่มที่มีการสูญเสียกระดูกอย่างรวดเร็วหรือไม่ เพื่อที่จะได้หาวิธีป้องกันและให้การรักษาตั้งแต่แรก  
  • ใช้ในการติดตามผลการรักษา ซึ่งอาจตรวจซ้ำทุก 1 - 2 ปี

ผู้ที่ควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก 


  1. ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน (โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี)หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง
  2. ผู้ที่มีกระดูกหักเกิดขึ้นทั้งที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ข้อเท้าพลิก ยกของหนัก ลื่นล้ม หรือ ตกจากเก้าอี้ โดยเฉพาะกระดูกหักในบริเวณ ข้อมือ หัวไหล่ สันหลัง สะโพก และ ส้นเท้า
  3. ผู้สูงอายุที่รู้สึกว่ากระดูกสันหลังผิดปกติ เช่น หลังโก่ง หลังคด ความสูงลดลงมากกว่า 1.5 นิ้วเมื่อเทียบกับความสูงที่สุดช่วงอายุ 25-30 ปี ( ความสูงที่สุดสามารถวัดได้เทียบเท่ากับ ความยาวจากปลายนิ้วทั้งสองข้าง )
  4. เป็นโรคบางอย่าง เช่น ไตวาย เบาหวาน รูมาตอยด์ ไทรอยด์ พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง เป็นต้น
  5. รับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะ(ยาธาตุน้ำขาว) ยาขับปัสสาวะ 
  6. ผู้ที่ผอมมาก ๆ ผู้ที่ประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือ ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย 
  7. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัo

ค่าความหนาแน่นของกระดูก จะแปลผลได้หลายแบบ ที่นิยมใช้ก็คือ การแปลผล จากค่าที่วัดได้ เทียบกับ ค่ามาตรฐาน ของประชากร ที่มี เพศ อายุ เชื้อชาติ ใกล้เคียงกัน


การแปลผล ค่าความหนาแน่นกระดูก


  •  0 ถึง - 1 ( ศูนย์ ถึง ลบ หนึ่ง ) แปลว่า อยู่ในเกณฑ์ ปกติ
  • - 1 ถึง - 2.5 ( ลบหนึ่ง ถึง ลบสองจุดห้า ) แปลว่า กระดูกบาง
  • ค่าน้อยกว่า - 2.5 ( น้อยกว่า ลบสองจุดห้า ) แปลว่า กระดูกพรุน
  • ค่าน้อยกว่า - 2.5 และมีกระดูกหัก แปลว่า กระดูกพรุน ขั้นรุนแรง

เวลาเปิดให้บริการ


เปิดให้บริการวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 8.00น-20.00น ไม่เว้นวันหยุดราชการ ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทองหรือประกันสังคม ข้าราชการจ่ายตรง กรุณาเตรียมเอกสารไปพร้อมกับผู้ป่วย ใบส่งตรวจ(ใบRefer)+สำเนาบัตรประชาชน+สำเนาบัตรสิทธิ์(บัตรทอง/ประกันสังคม)+เอกสารตรวจสอบสิทธิ์

เขียนรีวิว

โน๊ต: ไม่รองรับข้อความแบบ HTML!
    ไม่ชอบ           ชอบ

ศูนย์ตรวจมวลกระดูกโรงพยาบาลระยอง

  • รหัสสินค้า: 000
  • สถานะสต๊อก: มีสินค้าในสต๊อก
  • $0.00

  • ยังไม่รวมภาษี: $0.00