ศูนย์ตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมโรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ
ศูนย์ตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ
Digital Mammogram Center
ศูนย์ตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมโรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคของเต้านม เช่น มะเร็ง เนื้องอก ถุงนำ้ เป็นต้น ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ติดห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ท่านสามารถติดต่อสอบถามหรือเข้ารับการตรวจได้ที่ โทร 093-578-1885 เปิดให้บริการวัน จันทร์-ศุกร์เวลา 8.30-20.00 น. ทุกวัน
โรคมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ
มะเร็งเต้านมคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือดมีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อเป็นต้นแต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามตัดออกได้และไม่กลับเป็นซ้ำไม่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น fibroadenoma, cyst, fibrocystic disease Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียงที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
อาการของมะเร็งเต้านม
มะเร็งในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้ มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม มีน้ำไหลออกจากหัวนม หรือเจ็บ หัวนมถูกดึงรั้งเข้าในเต้านม ผิวที่เต้านมจะมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ใช่มะเร็ง
การวินิจฉัยก้อนที่เต้านม
การวินิจฉัยหาสาเหตุของก้อน แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับก้อน ประวัติครอบครัว ประวัติสุขภาพทั่วไปหลังจากนั้นแพทย์ จะตรวจPalpation แพทย์จะคลำขนาดของก้อน ลักษณะของก้อนแข็งหรือนิ่ม ผิวขรุขระหรือเลียบ ขยับเคลื่อนไหวได้หรือไม่ ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้โตหรือไม่ Mammography เป็นข้อมูลเพื่อช่วยในการวินิจฉัย Ultrasonography เพื่อแยกว่าก้อนนั้นเป็นของแข็งหรือของเหลว
จากข้อมูลดังกล่าวแพทย์จะตัดสินใจว่าจะวางแผนการรักษา แพทย์บางท่านอาจจะทำการตรวจเพิ่มโดยการตรวจAspiration ใช้เข็มเจาะดูดเอาน้ำออกและส่งหาเซลล์มะเร็งในกรณีที่ก้อนนั้นเป็นของเหลว Needle biopsy การใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อส่งพยาธิวิทยาเพื่อหาเซลล์มะเร็ง Surgical biopsy เป็นการผ่าตัดเอาก้อนออก และส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เมื่อแพทย์ตัดสินใจจะผ่าตัดชิ้นเนื้อออกคุณสุภาพสตรีควรจะถามแพทย์ดังนี้ คาดว่าผลชิ้นเนื้อเป็นอย่างไร ผ่าตัดนานแค่ไหน ใช้ยาสลบหรือไม่เจ็บหรือไม่ เมื่อไรจะทราบผลชิ้นเนื้อ ถ้าผลเป็นมะเร็งจะรักษากับใครดี
หากผลชิ้นเนื้อนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย
โรคที่เป็นสาเหตุของก้อนที่เต้านมชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อยๆได้แก่ Fibrocystic change เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดไม่เป็นมะเร็งก้อนนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้มีถุงน้ำ มักจะมีอาการปวดบริเวณก้อนก่อนมีประจำเดือน มักจะเป็นตอนอายุ 30-50 ปีมักจะเป็นสองข้างของเต้านม มีหลายขนาด ตำแหน่งที่พบคือบริเวณรักแร้ก้อนนี้ขยับไปมาได้เมื่อวัยทองก้อนนี้จะหายไป หากเป็นโรคนี้ไม่ต้องรักษาFibroadenomas มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปีไม่ปวด ก้อนเคลื่อนไปมา การรักษาผ่าเอาออก Traumatic fat necrosis เกิดจากการที่เต้านมได้รับการกระแทกและมีเลือดออกในเต้านม มักเกิดในคนที่มีเต้าโตบางครั้งผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัวไขมันเกิดการอักเสบรวมกันเป็นก้อนซึ่งอาจจะปวดหรือไม่ก็ได้ ก้อนทั้งหมดจะไม่กลายเป็นมะเร็ง
กลุ่มใดบ้างที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม ควรมาตรวจแมมโมแกรมทุก 1 ปี
• ผู้หญิงที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม (มารดา , พี่สาว , น้องสาว , บุตรสาว)
• ผู้ที่เคยรับการฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นที่บริเวณหน้าอก
• ผู้ที่รับยาฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ
• ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว 1 ข้าง
• ผู้ที่ได้รับการเจาะตรวจชิ้นเนื้อพบภาวะที่เรียกว่า Atypical ductal hyperplasia
แมมโมแกรมคืออะไร
แมมโมแกรมคือ การถ่ายเอกซเรย์เต้านมทั้ง 2 ข้าง ตามปกติจะทำ 2 ท่า คือถ่ายเต้านมด้านตรง (Craniocaudal view- CC) และแนวเอียง (Mediolateral oblique-MLO) การตรวจแมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีคล้ายกับการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ แต่เครื่องตรวจแมมโมแกรม จะมีลักษณะเฉพาะ ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่า และมีการตรวจที่แม่นยำมากกว่า เพราะสามารถค้นหาความผิดปกติได้ตั้งแต่มีขนาดเพียงมิลลิเมตร โดยจะสามารถตรวจพบจุดหินปูน ซึ่งบางครั้งมีขนาดเล็กมาก จนไม่สามารถคลำหรือตรวจอัลตร้าซาวด์พบดังนั้น การตรวจแมมโมแกรมจึงมีประโยชน์ในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็ก แมมโมแกรมเป็นการตรวจเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์พิเศษเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ที่ไม่สามารถตรวจ พบจากการตรวจร่างกายจะมองเห็นลักษณะความเข้มทึบที่ต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด เช่น เนื้อเยื่อเต้านม หลอดเลือด ไขมัน หินปูน หรือกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนมในระยะแรก ก้อนเนื้องอกที่มีขนาดเล็ก หรือ ตรวจติดตามหลังการผ่าตัด การทำแมมโมแกรมจะใช้เวลา 5-10 นาทีเพื่อให้ได้ภาพเต้านมข้างละ 2 รูปคือท่าตรงและท่าด้านข้างขอบรักแร้โดยเครื่องเอกซเรย์จะกดเต้านมของท่านประมาณ 5 วินาทีเพื่อให้เนื้อภายในเต้านมกระจายออก ทำให้การวินิจฉัยถูกต้องแม่นยำ และลดปริมาณรังสีที่ใช้ ท่านอาจรู้สึกเจ็บบ้างนิดหน่อย ในขณะกดเต้านม
ทำไมต้องทำแมมโมแกรม
ปัจจุบันนี้อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในประเทศไทยพบสูงขึ้นเรื่อยๆ มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดของผู้หญิง แมมโมแกรมเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจาก ทั่วโลกว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในการตรวจพบหินปูนในเต้านม ซึ่งหินปูนบางชนิดพบในมะเร็ง เต้านมระยะเริ่มแรกซึ่งไม่สามารถค้นพบจากการตรวจร่างกาย แมมโมแกรมมีความสามารถสูงในการตรวจหามะเร็งเต้านมที่ยังมีขนาดเล็กและไม่มีอาการ ทำให้ผลการรักษาดีผู้ป่วยมีโอกาสอยู่รอดมากขึ้นและนานขึ้น การตรวจแมมโมแกรมในคนปกติที่ไม่มีอาการเพื่อหามะเร็งระยะเริ่มต้นแบบนี้ เรียกว่า "SCREENING MAMMOGRAM"
ทำแมมโมแกรมเจ็บหรือไม่
ขั้นตอนการตรวจแมมโมแกรมจำเป็นต้องมีการกดเต้านม โดยมีจุดประสงค์หลัก เพื่อทำให้เนื้อเต้านมแผ่ออกไม่บังสิ่งผิดปกติถ้ามีนอกจากนี้ยังลดปริมาณรังสีที่เต้านมจะได้รับ แต่ท่านไม่ต้องกังวลว่าการตรวจจะเจ็บมาก เพราะจากการศึกษาของศูนย์ตรวจวินิจฉัยเต้านมโรงพยาบาลรามาธิบดี จากจำนวนผู้รับการตรวจ 765 ราย 23% บอกว่าไม่เจ็บเลย, 48% เจ็บเล็กน้อย 25% เจ็บปานกลางมีเพียง 4 % ที่บอกว่าเจ็บมาก
การทำแมมโมแกรมได้รับรังสีมากไหม
ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการทำแมมโมแกรมน้อยมากๆ ไม่มีรายงานว่าทำให้เกิดอันตรายในระยะยาว แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนการตรวจท่านควรแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทารกได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น
การทำแมมโมแกรมเชื่อถือได้หรือไม่
มีภาวะบางประการที่ทำให้แมมโมแกรมมีข้อจำกัด ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ ความหนาแน่นของเนื้อเต้านม เต้านมคนเรามีส่วนประกอบหลักๆ คือ ส่วนที่เป็นเนื้อของเต้านม (รวมท่อน้ำนม , ต่อมน้ำนม , เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน) และส่วนที่เป็นไขมัน ในรายที่เนื้อเต้านมหนาแน่นมาก เช่น อายุน้อย เนื้อเต้านมมีโอกาสบังสิ่งผิดปกติทำให้ตรวจไม่พบนี่เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่เราไม่ทำแมมโมแกรม ในผู้หญิงอายุน้อยที่ไม่มีอาการผิดปกติของเต้านม นอกจากนี้มะเร็งระยะต้นบางกรณี อาจตรวจพบได้ยาก หรือไม่สามารถแยกจากความผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็งได้ โดยรวมแมมโมแกรม อาจให้ผลปกติแม้มีมะเร็งเต้านมอยู่ โดยมีโอกาสพบกรณีเช่นนี้ได้ประมาณ 10% ดังนั้นที่ศูนย์ตรวจวินิจฉัยเต้านม จึงนำอัลตราซาวด์มาใช้เสริมกับแมมโมแกรม เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจมากขึ้น
www.simahealthcare.com