ศูนย์ตรวจและทดสอบสมรรถภาพหัวใจโรงพยาบาลค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
ศูนย์ตรวจหัวใจโรงพยาบาลค่ายเทพสตรีศรีสุนทร
ศูนย์ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง
Echocardiogram Center
ด้วยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งจะส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ โดยหัวตรวจชนิดพิเศษ เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูง ผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ ซึ่งแตกต่างกันระหว่างน้ำ เนื่อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้ มาสร้างภาพ ดังนั้น ภาพที่เห็นก็คือ หัวใจของผู้ป่วย Echocardiogram จึงช่วยให้แพทย์สามารถ
วินิจฉัยโรค พยากรณ์โรค ตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษา ในโรคหัวใจและ หลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- โรคหัวใจแต่กำเนิด
- โรคลิ้นหัวใจพิการ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ
- โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
การตรวจ Echo นิยมทำ 2 วิธีคือ
- ตรวจโดยการใช้หัวตรวจ ตรวจบริเวณผนังทรวงอกด้านนอก (Tran Thoracic Echocardiogram) เป็นการตรวจที่นิยมทำกันทั่วไป วิธีการค่อนข้างง่าย ไม่เจ็บตัว ไม่มีอันตรายใดๆ เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อย ท่านจะสามารถทราบผลการตรวจได้ทันที
- ตรวจโดยการใช้หัวตรวจ สอดผ่านช่องปาก เข้าไปอยู่ในหลอดอาหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งด้านหลังของหัวใจโดยตรง (Tran Esophageal Echocardiogram) การตรวจวิธีนี้สามารถตรวจโครงสร้างของหัวใจ และหลอดเลือดที่อยู่ด้านหลังหัวใจ เช่นหัวใจห้องซ้ายบน ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจได้ชัดเจนกว่าวิธีแรกวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางรายเช่น ผนังหน้าอกหนามาก(อ้วน)เป็นต้นแต่การตรวจวิธีนี้ ไม่ได้ใช้ทดแทนการตรวจวิธีแรก จะทำเฉพาะในรายที่มีข้อบ่งชี้เท่านั้น เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อหลอดอาหารได้ แต่ก็พบน้อยมาก น้อยกว่าร้อยละ 0.5แพทย์จะสั่งการตรวจเมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจโดยมีภาวะต่อดังต่อไปนี้ เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือมีรูรั่ว ( Murmurs ) เสี่ยงที่ผิดปกติเกิดจากการไหลวนของกระแสเลือดไหลผ่านลิ้นที่ตีบหรือรูรั่วที่ผนังหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
การตรวจในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีรูรั่วหรือลิ้นตีบจะมีประโยชน์ดังนี้
- เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากการตีบหรือรั่วที่ไหน
- เพื่อตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียน
- เพื่อตรวจความผิดปกติอื่นที่อาจจะพบร่วมกัน
- เพื่อตรวจผลเสียที่เกิดจากการรั่วหรือตีบ
- ประเมินขนาดของรูรั่วหรือตีบ
- ประเมินการทำงานของหัวใจ
- ประเมินการทำงานหรือรูรั่วไว้เพื่อเปรียบเทียบ
- ประเมินผู้ป่วยหลังการรักษา
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
สำหรับการตรวจวิธีที่ 1 ไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าแต่ประการใด ส่วนการตรวจวิธีที่ 2 ต้องเตรียมดังนี้
1. ผู้รับการตรวจจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้งดน้ำงดอาหาร 4 - 6 ชม. ก่อนตรวจ
2. ผู้รับการตรวจต้องไม่มีประวัติแพ้ยา และประวัติกลืนลำบาก
3. ในวันตรวจหากผู้รับการตรวจมีฟันปลอม ควรถอดเก็บไว้ก่อน
4. ผู้รับการตรวจทุกรายต้องลงชื่อในใบยินยอม ก่อนการตรวจทุกครั้ง
ตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย
Exercise stress test/EST
การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย Exercise Stress Test (EST)
อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังเดินบนสายพาน Stress Electrocardiogram คือ การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับความดันโลหิต และกาเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานเลื่อน หรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในผู้ที่มีอาการเช่น
เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุหรือในผู้ที่ไม่มีอาการแต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรวมทั้งบ่งบอกให้ทราบถึงสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย , หลอดเลือดหัวใจ และความสามารถในการออกกำลังกายของแต่ละบุคคลการตรวจมักใช้เวลาประมาณ 30 นาที
จุดประสงค์ของการทดสอบ
มุ่งเน้นการตรวจหา ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ตีบหรือขาดเลือดเป็นสำคัญ หรือ อาจใช้ตรวจหาการเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดร่วมกับการออกกำลังกายอีกด้วย การทดสอบชนิดนี้ ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี หลักการ คือให้ผู้ป่วย (หรือผู้ที่ต้องการตรวจ) ออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน)เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และมีการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น การทดสอบนี้ ยังช่วยบอกแพทย์ด้วยว่า ผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และใช้ในการติดตามผู้ป่วย ภายหลังได้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยา หรือ การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด
วิธีการทดสอบ
โดยการให้ผู้รับการทดสอบเดินบนสายพาน ต่อขั้ว และสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอก 10 สาย เข้ากับเครื่อง Computerในขณะที่เดินอยู่ เครื่อง Computer จะบันทึก และแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้า ภายในหัวใจ พร้อมทั้งความดันโลหิต ตลอดเวลา ในขณะทดสอบ จะมีการเพิ่มความเร็ว และ ความชันของเครื่องเป็นระยะๆ ตามโปรแกรมที่จะเลือก ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ทดสอบโดยเฉพาะเป็นรายๆ ไป เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ผู้ทดสอบสามารถทราบผลการทดสอบจากแพทย์ ซึ่งจะเฝ้าสังเกตอาการอยู่ด้วยตลอดการทดสอบได้ทันที
การเตรียมตัวก่อนการทดสอบ
- ควรงดการรับประทานมื้อหนักๆ หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ประมาณ 2 - 4 ชม. ก่อนการทดสอบ อนุญาตให้รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำผลไม้ได้
- ควรสอบถามแพทย์ ถึงยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำว่า ควรหยุดก่อนการทดสอบหรือไม่ เช่น ยารักษาโรคหัวใจ ยารักษา ความดันโลหิตสูง หรือยา ขับปัสสาวะ เป็นต้น ยาบางชนิด อาจจำเป็นต้องหยุด ก่อนตรวจล่วงหน้า
- ควรสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมต่อการทดสอบ เสื้อควรเป็นเสื้อที่มีกระดุมเปิดด้านหน้า เพื่อสะดวกในการเตรียมต่อขั้ว และสายนำ ไฟฟ้า ถ้าเป็นรองเท้า ผ้าใบจะช่วยให้การเดินทดสอบสะดวกยิ่งขึ้น
- ผู้ทดสอบทุกราย จะต้องลงชื่อในใบยินยอมเพื่อรับการทดสอบ ก่อนการทดสอบทุกครั้งขณะตรวจ
เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นขั้วสัญญาณไฟฟ้า ( electrode) ไว้บริเวณทรวงอกของคุณเพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจคุณจะได้รับคำแนะนำถึงวิธีเดินบนสายพาน หรือถีบจักรยาน โดยคุณจะต้องออกกำลังเป็นเวลาหลายนาที (ประมาณ 10-15 นาที ) แพทย์จะปรับความเร็วและความชันของสายพานทุกๆ 3 นาที การออกกำลังช่วงแรกจะเริ่มช้า ๆ ก่อน จากนั้นจะค่อย ๆ เร็วขึ้นเรื่อย ๆทีละน้อย อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันเลือดจะถูกบันทึกตั้งแต่ก่อนออกกำลังกาย ขณะออกกำลัง และหลังการออกกำลัง
ติดต่อสอบถามและเข้ารับการตรวจได้ที่
ศูนย์ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง โรงพยาบาลค่ายเทพสตรีศรีสุนทร เวลาเปิดให้บริการเปิดให้บริการ เวลา 8.30-17.00 น ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์บัตรทองหรือประกันสังคม ข้าราชการจ่ายตรง กรุณาเตรียมเอกสารไปพร้อมกับผู้ป่วยใบส่งตรวจ (ใบRefer) +สำเนาบัตรประชาชน+สำเนาบัตรสิทธิ์(บัตรทอง/ประกันสังคม)+เอกสารตรวจสอบสิทธิ์ ข้าราชการสามารถนำใบเสร็จ ไปเบิกคืนได้