ศูนย์เอ็มอาร์ไอโรงพยาบาลธนบุรี-ชุมพร
ศูนย์ตรวจเอ็มอาร์ไอ
โรงพยาบาลธนบุรี-ชุมพร
ติดต่อสอบถามและเข้ารับการตรวจได้ที่ ศูนย์ตรวจเอ็มอาร์ไอ โรงพยาบาลธนบุรี-ชุมพร
บริษัทฯได้ทำการติดตั้งและให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคของร่างกายด้วยเอ็มอาร์ไอแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลธนบุรี-ชุมพร และโรงพยาบาลอื่นๆบริเวณใกล้เคียง ภายในศูนย์เอ็มอาร์ไอโรงพยาบาล มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนเพรียบพร้อม มีทีมงานรังสีแพทย์ที่เชี่ยวชาญ รังสีเทคนิค พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์สูง
เมื่อร่างกายมีความผิดปกติจากภายใน บางครั้งการตรวจวินิจฉัยแบบธรรมดาก็ไม่สามารถแสดงผลที่ต้องการได้ปัจจุบันวงการแพทย์ได้นำเครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูง หรือ เอ็ม.อาร์.ไอ (MRI) ซึ่งเป็นเครื่องมือบันทึกภาพทางการแพทย์ โดยการส่งถ่ายพลังงานคลื่นวิทยุจากขดลวดส่งคลื่นความถี่วิทยุไปยังผู้ป่วย ซึ่งนอนอยู่ในสนามแม่เหล็กแรงสูง พลังงานเหล่านั้นจะสะท้อนกลับมายัง
ตัวรับสัญญาณ โดยสัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะถูกเปลี่ยนแปลงตามคุณสมบัติของเนื้อเยื่อและหลอดเลือด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็คือข้อมูลสำหรับการสร้างภาพโดยคอมพิวเตอร์ตามสรีระของผู้ป่วยจากส่วนร่างกายที่ถูกกระตุ้นด้วยพลังงานนี้ การตรวจด้วยวิธีนี้จะต้องใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-40 ซึ่งขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจ
ประโยชน์ของการตรวจ เอ็ม.อาร์.ไอ.
- สามารถจำแนกคุณสมบัติของเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบ และตรวจหาสิ่งผิดปกติในระยะแรกได้
- ตรวจได้ทุกระนาบโดยไม่ต้องขยับผู้ป่วยหรือเปลี่ยนท่าผู้ป่วย
- ไม่เกิดการแตกตัวเป็นไอออนภายในร่างกาย
- สามารถตรวจเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายในกระดูกได้
- ไม่มีอันตรายจากรังสี เนื่องจากไม่ใช้รังสีเอกซเรย์ในการตรวจ(ใช้พลังงานแม่เหล็ก)
- สามารถทำการตรวจได้แม้เป็นโรคไตวาย (RENAL FAILURE) หรือมีค่าเคทินีนสูง
- ลดอันตรายจากการแพ้สารทึบแสงชนิดไอโอนิคหรือแพ้อาหารทะเล
การเตรียมพร้อมเพื่อตรวจ เอ็ม.อาร์.ไอ.
- โดยทั่วไปไม่ต้องงดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ(ยกเว้นการตรวจช่องท้อง Upper/Lower abdomen /MRCPต้องงดน้ำและอาหารก่อนการตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง)
- ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ จำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึก หรือดมยาสลบ ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- ควรงดใช้เครื่องแต่งหน้า(แป้ง/ทาขอบตา/ทาลิปติก)ในวันตรวจ
- ควรมีญาติมาด้วย 1 คน และทำจิตใจให้สบายไม่ต้องกังวล เนื่องจากการตรวจไม่เจ็บ เพียงแค่นอนนิ่งๆ
การปฏิบัติตัวก่อนเข้าห้องตรวจ
- เปลี่ยนเสื้อผ้าที่มีโลหะออก สวมใส่ชุดและเปลี่ยนรองเท้าที่เตรียมไว้ให้
- ห้ามสวมสิ่งของเครื่องประดับที่เป็นโลหะ เช่น กิ๊บติดผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับต่าง ๆ เป็นต้น
- ถ้าผู้ป่วยเคยผ่าตัดใส่โลหะในร่างกายหรือวัตถุอื่น ๆ ต้องบอกเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าห้องตรวจ
- ผู้ป่วยควรปัสสาวะก่อนเข้าห้องตรวจ เนื่องจากการตรวจอาจจะใช้เวลานาน
- ใช้เครื่องอุดหูที่เตรียมไว้ให้อุดก่อนเข้าห้องตรวจ เนื่องจากมีเสียงดังรบกวนในขณะตรวจ
- การปฏิบัติตัวระหว่างทำการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องไม่ขยับหรือเคลื่อนไหวส่วนที่ทำการตรวจเด็ดขาด เพื่อจะได้ภาพที่ชัดเจน
กลุ่มเฉพาะที่ห้ามตรวจด้วยเครื่อง เอ็ม.อาร์.ไอ.
- ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ
- ผู้ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง
- ผู้ที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู
- ผู้ที่มีโลหะต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ข้อเทียมต่าง ๆ โลหะตามกระดูก กระสุนปืน เป็นต้น
- สตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
- ผู้ที่คิดว่ามีสิ่งแปลกปลอมที่เป็นโลหะติดอยู่ที่ตา
- ผู้ที่ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้(กลัวที่แคบ)
เนื่องจากภายในห้องตรวจเอ็ม.อาร์.ไอ.มีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา ซึ่งจะมีผลต่าง ๆ ต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่น เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ ดึงดูดวัตถุที่เป็นโลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น เหล็กโลหะอื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของเหล็ก รวมทั้งมีผลต่อข้อมูลที่ใช้แถบแม่เหล็ก
บัตรที่ใช้แถบแม่เหล็ก โดยข้อมูลจะถูกลบ เช่น บัตร ATM, บัตรเครดิต เป็นต้น
สามารถตรวจค้นหา โรคร้ายต่างๆในร่างกายได้
การตรวจเอ็มอาร์ไอ สามารถตรวจค้นหารอยโรคของร่างกาย เช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก การอักเสบ ถุงน้ำ นิ่วในไต หรือกระเพาะปัสสาวะ ทางเดินน้ำดีอุดตัน หนองในโพรงจมูก หลอดเลือดตีบ หลอดเลือดโป่งพอง หลอดเลือดแตก หลอดเลือดตีบ หลอดเลือดโป่งพอง ลิ้นหัวใจรั่ว กระดูกแตก ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลัง(คอ/หลัง/เอว)เสื่อม มะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
โดยสามารถตรวจวินิจฉัยอวัยวะได้ดังนี้คือ
สมอง เส้นประสาท ตา ประสาทตา รูหู โพรงจมูก คอ ไทรอยด์ ปอด ตับ ไต ม้าม ตับอ่อน ถุงน้ำดี มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก ข้อต่อต่าง(ไหล่/ข้อมือ/ข้อเท้า/เข่า/ข้อนิ้ว) กระดูก(แขน/ขา/เท้า) หลอดเลือดที่แขน/ช่องท้อง/ไต/ขา/ปลายแขนปลายขา/หลอดเลือดที่หัวใจ กระดูสันหลัง เป็นต้น
กรณีต้องฉีดสารทึบแสง
บางครั้งอาจต้องฉีดสารทึบแสงเพื่อทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถแยกรอยโรคชัดเจน แม่นยำ ถ้ามีอาการผิดปกติในขณะฉีด เช่น หายใจไม่ออก เหนื่อย คัน อัดอัดมาก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีและเมื่อตรวจเสร็จให้ดื่มน้ำมากๆ
ติดต่อสอบถามและเข้ารับการตรวจได้ที่
ศูนย์ตรวจเอ็มอาร์ไอ โรงพยาลบาลธนบุรี-ชุมพร ได้ทุกวัน ตลอด 24ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ